ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่

ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่


ต้นทุนผันแปร 
และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น

ต้นทุนคงที่  เป็นต้นทุนซึ่งจำนวนรวมจะไม่เปลี่ยนแปลงไปกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตภายในช่วงที่พิจารณา หรือไม่ว่าปริมาณกิจกรรมจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้นทุนคงที่รวมจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เงินเดือนผู้ควบคุมตรวจตราโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงานเครื่องจักร ภาษีและค่าเช่า  ต้นทุนกึ่งผันแปร  คือ ต้นทุนที่มีลักษณะผสมทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร นั่นคือ จำนวนรวมของต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณของกิจกรรม แต่ไม่ได้แปรไปในอัตราส่วนโดยตรงกับปริมาณกิจกรรม เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่ากำลังไฟ ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นต้นต้นทุนแผนกผลิต  แผนกผลิตเป็นแผนกที่ทำการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรา ต้นทุนของแผนกผลิตจะถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพราะเกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น แผนกตัด แผนกประกอบ แผนกตกแต่ง เป็นต้น

ต้นทุนแผนกบริการ  แผนกบริการเป็นแผนกที่ไม่ได้ผลิตสินค้าโดยตรงแต่ให้บริการแก่แผนกอื่นทั้งที่เป็นแผนกผลิตและแผนกบริการด้วยกัน เช่น แผนกบำรุงรักษา แผนกบุคคล แผนกบัญชี ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

ต้นทุนผลิตภัณฑ์  หมายถึงต้นทุนที่เป็นตัวสินค้า ในกิจการอุตสาหกรรมต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็คือผลรวมของต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนในกิจการซื้อมาขายไป ต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็ คือ ค่าซื้อสินค้า

ต้นทุนประจำงวด  เป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือไม่ได้ติดตามสินค้าที่ผลิต แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายในการขายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำไปหักจากยอดขายในงวดบัญชีปัจจุบันต้นทุนที่จำแนกตามส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป  หรือที่เรียกว่า ต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน และต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต

1. วัตถุดิบทางตรง หมายถึง วัตถุดิบที่ถูกใช้โดยตรงในการผลิต และแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าสำเร็จรูป และจะเป็นส่วนประกอบสำคัญสามารถคิดเข้าตัวผลิตภัณฑ์ได้ หรือสามารถบอกได้แน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีต้นทุนวัตถุดิบเท่าใด เช่น ผ้าที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังสัตว์ที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า เป็นต้น

2. ค่าแรงงานทางตรง หมายถึง ค่าแรงงานที่จ่ายให้แก่คนงานที่ทำการผลิตโดยตรง และ

สามารถบอกได้ชัดเจนว่าในผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ๆ มีต้นทุนค่าแรงงานทางตรงเท่าใด

3. ค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งอาจเรียกว่าโสหุ้ยการผลิต หรือค่าใช้จ่ายโรงงาน หมายถึง ต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในโรงงานนอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง

ระบบต้นทุนการผลิต Job Cost ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed
ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจโครงสร้างของต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น

ระบบบริหารต้นทุนการผลิต (Job Cost) ช่วยควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถกำหนดสูตรการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มการควบคุมวัตถุดิบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถประมาณการผลิตล่วงหน้าได้ก่อนที่จะมีการผลิตจริงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น วัตถุดิบ (DM) แรงงาน (DL) และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (HO) สามารถตรวจสอบสินค้าที่ผลิตเสร็จ (QC) พิจารณาของดีหรือของเสีย สามารถปันส่วนโสหุ้ยการผลิตได้ในกรณีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องการเพิ่มเป็นต้นทุนของสินค้า สิ่งที่สำคัญของการผลิตสินค้าคือการรับรู้ต้นทุนการผลิตที่ประมาณการไว้กับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โปรแกรมจะสรุปต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงจากการปิดใบสั่งผลิตเพื่อเปรียบเทียบกับยอดประมาณการผลิตที่ตั้งไว้ และนำมาพิจารณาเพื่อปรับวิธีการทำงานหรือขั้นตอนการผลิต สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้

ประมาณการผลิต

ประมาณการผลิต

สำหรับกำหนดค่ามาตรฐานของต้นทุนการผลิตงานตาม Job
ดูเพิ่มเติม
เปิดใบสั่งผลิต

เปิดใบสั่งผลิต

เพื่อเป็นการเปิดใบสั่งผลิตตามใบสั่งขาย หรือรายการที่กิจการจะผลิตเพื่อนำเข้า Stock สินค้า เป็นการเตรียมการผลิตสินค้าที่ต้องการ
ดูเพิ่มเติม
เบิกใช้วัตุดิบ

เบิกใช้วัตุดิบ

เพื่อบันทึกเบิกวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นการบันทึกรายการวัตถุดิบที่ใช้จริงในการผลิตสินค้า
ดูเพิ่มเติม
ค่าแรงทางตรง

ค่าแรงทางตรง

เพื่อบันทึกค่าแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นจริงในการผลิตสินค้า เป็นการคำนวนต้นทุนแรงงาน คิดเข้างานของงานผลิต
ดูเพิ่มเติม
ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่าย

เพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายคิดเข้างานที่เกิดขึ้นจริง ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาคิดเป็นต้นทุนสินค้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ส่งคืนวัตถุดิบ

ส่งคืนวัตถุดิบ

สำหรับบันทึกรายการส่งคืนวัตถุดิบที่เบิกไปเพื่อทำการผลิต เพื่อให้การคำนวณต้นทุนคงเหลือเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ไปจริง
ดูเพิ่มเติม
ส่งสินค้าผลิตเสร็จ

ส่งสินค้าผลิตเสร็จ

สำหรับบันทึกรับสินค้าที่ทำการผลิตเสร็จเข้าสู่คลังสินค้า เพื่อรอการนำไปผลิตต่อหรือเพื่อขาย
ดูเพิ่มเติม
รับคืนสินค้าผลิตเสร็จ

รับคืนสินค้าผลิตเสร็จ

สำหรับบันทึกรับคืนสินค้าที่เป็นของเสีย และของมีตำหนิทำการ Rework ใหม่อีกครั้ง
ดูเพิ่มเติม
ตรวจสอบสินค้า

ตรวจสอบสินค้า

สำหรับบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ทำการผลิตเสร็จ
ดูเพิ่มเติม
ปันส่วนโสหุ้ย

ปันส่วนโสหุ้ย

สำหรับปันส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้าเพื่อปันเข้าไปในต้นทุน/หน่วยของสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้
ดูเพิ่มเติม
ปิดใบสั่งผลิต

ปิดใบสั่งผลิต

สำหรับปิดใบสั่งผลิต เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาต้นทุนสินค้าต่อหน่วยสินค้า
ดูเพิ่มเติม
ปิด Job

ปิด Job

กรณีที่ Job ทำเสร็จสิ้นแล้วและไม่มีการเปิดใบสั่งผลิตที่จะทำการผลิตแล้ว (จบ Project ) ทำการปิด Job เพื่อรวบรวมต้นทุนใน Job งานทั้งหมด
ดูเพิ่มเติม



ขอบคุณบทความจาก :: https://sites.google.com 

 1173
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์