บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร

บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร


หากได้ยินคำว่า “บัญชี” หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี มักจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการทำงานที่เกี่ยวกับเงินและตัวเลข แต่หากได้สัมผัสและรู้ถึงความจริงของนักบัญชี จะเข้าใจได้ว่า นักบัญชีนั้นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถด้านการคิดคำนวณ ไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อบันทึกรายการนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

ฉะนั้น ทักษะการคำนวณนั้นจึงเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ของความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพนี้เท่านั้น แต่ความรู้ในด้านการคิดวิเคราะห์ต่างหากที่เป็นจุดเด่น เป็นความรู้ความสามารถที่ควรมีในตัวนักบัญชี 

รวมถึงนักบัญชีจะต้องมีความรู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้รวมถึงการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง 

1. จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เนื่องจากนักบัญชีจะเป็นด่านแรกที่ได้รับข้อมูล และ ด่านสุดท้ายที่จะรายงานข้อมูลสู่สาธารณชน ฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกไป จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ จึงส่งผลให้หลายๆ คนที่ทำอาชีพนี้มีบุคคลิกที่เป็นคนละเอียด หรือ หากบุคคลภายนอกได้ร่วมงานด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นักบัญชีเรื่องมากบ้าง จุกจิกบ้าง ด้วยเพราะงานบัญชีเกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก

2. เป็นนักวางแผน
เนื่องจากต้องมีกระบวนการรายงานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น งบการเงิน ที่จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร หรือตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น 

3. เป็นคนขยัน อดทน
ที่จะต้องรับมือเป็นฝ่ายสุดท้าย ก่อนส่งงานออกให้ทันเวลากำหนดมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ลุล่วง ด้วยดี ในทุกๆ งาน

4. ความซื่อสัตย์
นักบัญชีทำงานภายใต้จรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉะนั้น การรายงานต่างๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง แม่นยำและเป็นความจริงเสมอ

5. น้ำไม่เต็มแก้ว
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการออกประกาศฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

6. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แยกแยะประเด็นต่างๆ และนำความรู้ภาคทฤษฎีมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ

7. บุคคลิก เรียบร้อย ดูดี มีภูมิฐาน
เนื่องจาก งานในวิชาชีพนี้ ส่วนใหญ่ต้องทำงานในบริษัท และอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อถือ ต่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านักบัญชีของแต่ละองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ช่วยสนับสนุนงานของทุกๆฝ่าย และทำหน้าที่จัดทำงบการเงินและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เพื่อให้รายงานงบการเงิน ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างที่สุด

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : คุณกชพร สุวรรณตัด บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 735
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์