หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร


ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือชื่อเต็มๆ คือ “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยกรมสรรพากรได้กำหนดให้กิจการแต่ละประเภท หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ในจำนวนที่แตกต่างกัน ซึ่งเงินเดือนหรือค่าจ้างจะหักตาม “อัตราก้าวหน้า” ที่กรมสรรพากรกำหนด ถ้าสังเกตกัน เวลาได้รับเงินเดือนจะมีเงินบางส่วนถูกหักออกไปโดยอาจจะรวมถึง เงินสะสมเข้าประกันสังคม และอีกหนึ่งในรายการที่ถูกหักไปก็คือเงินที่นายจ้างหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนนั่นเอง

การหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็เป็นมาตรการการเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วน เพื่อให้เป็นการทะยอยจ่ายภาษีล่วงหน้าเพื่อลดภาระภาษีเมื่อถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ ซึ่งการจ่ายภาษีล่วงหน้า หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถนำมาคำนวณเป็นเครดิตภาษีได้ด้วยนะ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี นอกจากนี้ในเอกสาร 50 ทวิ ยังแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไหร่บ้าง เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้จะได้รับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
                 ขอบคุณตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย : rd.go.th

ใครเป็นคนจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ?

นายจ้างหรือบริษัท ที่ทำงานกันอยู่ที่มีหน้าที่ออก 50 ทวิ โดยอาจจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าหากจัดทำเป็นภาษาอื่นๆ จะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย

การจัดทำ 50 ทวิ จะถูกจัดทำออกมา 2 ฉบับ ประกอบด้วย

● ฉบับที่ 1 จะมีข้อความกำกับว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับการแสดงรายการ”
● ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน

บริษัทบางแห่ง อาจจัดทำหนังสือ 50 ทวิ อีก 1 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะได้รับเมื่อไหร่ ?

หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นับเป็นเอกสารสำคัญที่คนมีรายได้ทุกคนต้องใช้ในการคำนวณภาษี และเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ดังนั้น หากเลยกำหนดที่เพื่อนๆ ควรจะได้เอกสาร 50 ทวิจากบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายังไร้วี่แวว แนะนำให้รีบติดต่อสอบถามไปยังบริษัท หรือแผนกบุคคลทันที

โดยปกติหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายควรออกให้แก่พนักงานภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย หรือในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี เอกสาร 50 ทวิควรถูกออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษีภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกหักออกจากงาน ในกรณีเป็นเงินได้อื่นๆ นอกจากเงินค่าจ้างเช่น ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา ผู้ถูกหักภาษีต้องได้รับหนังสือรับรองการหักภาษีทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สรุปว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินภาษีที่นายจ้างหรือบริษัทจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับพนักงาน เพื่อนำส่งให้กับสรรพากรตามหน้าที่ พนักงานก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิที่เรียกกันอย่างสั้นๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีว่าได้ชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วจำนวนเท่าไหร่นั่นเอง

 

Cr.moneywecan

 1007
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์