เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?

เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?



ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง

เงินที่กิจการ ‘รับมาล่วงหน้า‘ จากการขายสินค้า หรือให้บริการ

       การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

แหล่งที่มา : Link

 1174
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์