งบเปล่าและการปิดงบเปล่า

งบเปล่าและการปิดงบเปล่า


งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง

โดยช่วงที่ต้องปิดงบเปล่า จะต้องมีผู้ทำบัญชีจัดทำงบเปล่าขึ้นมา และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีพร้อมเซ็นรับรอง จากนั้นส่งให้กรรมการ (เจ้าของกิจการ) อนุมัติงบการเงิน และหลังจากอนุมัติแล้วให้นำส่งงบเปล่านี้ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี ต้องให้เสร็จไม่เกิน 5 เดือน โดยยื่นงบการเงิน ลายเซ็นผู้สอบ และ บอจ.5 ผ่านทางออนไลน์ได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ส่วนกรมสรรพากร ให้ยื่นส่งงบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี

เงื่อนไขหรือสาระสำคัญของงบเปล่า

1. ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องพิสูจน์ความถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า
2. มีการเคลื่อนไหวของรายการธนาคาร หรือมีการยื่นแบบภาษี (ที่ไม่ใช่แบบเปล่า) จะไม่ใช่งบเปล่า
3. ทุนจดทะเบียนบริษัท ต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท ถ้านอกเหนือจากนี้ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า





ขอบคุณที่มา : sites.google.com
 686
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์