e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร

e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร



e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

E Invoice

E Invoice หรือใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบที่ออกโดยเจ้าของเอกสารกับแก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าและบริการ โดยเอกสารจะสมบรูณ์เมื่อมีลายเซ็นของผู้ขายและผู้ซื้อ

โดยข้อมูลหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยสองส่วนได้แก่

ข้อมูลของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ประกอบไปด้วย วันที่ออกเอกสาร/เลขที่ใบแจ้งหนี้/ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่บริษัทหรือห้างร้าน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบแจ้งหนี้ รวมไปถึงลายเซ็นของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ข้อมูลของลูกค้า

ประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่ของบริษัทหรือห้างร้าน/ รายละเอียดของสินค้าและบริการ/สรุปยอดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด/ วันที่กำหนดสำหรับการชำระเงินสำหรับสินค้าและบริการ

e Tax invoice

e Tax invoice หรือใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงจากกรมสรรพากรหมายถึง  เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อ (Vat)

ใบกำกับภาษีมีทั้งหมดกี่แบบ

ใบกำกับภาษีแบบเต็มคือ ใบภาษีที่มีการแยกราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน 

ใบกำกับภาษีแบบย่อคือ ใบภาษีที่มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้ว 

ธุรกิจหรือบริการไหนบ้างที่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี

  • ผู้ประกอบการธุรกิจหรือสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ค้าขายสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลที่ต้องมีอยู่ในใบกำกับภาษี

สำหรับใบกำกับภาษีแบบเต็มนั้นจะประกอบไปด้วยข้อความดังต่อไป

  • เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี”.อย่างชัดเจน
  • ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
  • รายละเอียดของสินค้า ได้แก่ ชนิด ประเภท ปริมาณและราคา 
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากราคาสินค้าและบริการ ให้แยกออกจากสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน
  • วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี

 

อ้างอิงจาก itax.in.th

 615
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์