ภ.พ.36 คืออะไร และผู้ใดที่ต้องใช้ ภ.พ.36 บ้าง

ภ.พ.36 คืออะไร และผู้ใดที่ต้องใช้ ภ.พ.36 บ้าง


ภ.พ.36 คือ
 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ฯ


ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.พ.36

ผู้จ่ายเงินที่ทำการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรที่ได้เข้ามาประกอบการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

กำหนดเวลาในการยื่นแบบ ภ.พ.36 และสถานที่ในการยื่นนำส่งเงินภาษี สามารถทำได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ใกล้เคียง หรือภูมิลำเนาของผู้นำส่ง โดยมีกำหนดว่าจะต้องไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่ในกรณีที่ยื่นภาษีออนไลน์ (https://efiling.rd.go.th/) กำหนดให้ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ตัวอย่าง

บริษัท A จ่ายค่าโฆษณาสำหรับเดือน พ.ค.2563 ได้รับใบเสร็จรับเงินจาก Facebook ถือ เป็นการจ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ราชอาณาจักรไทย และนำบริการดังกล่าวมาใช้ในราชอาณาจักรไทย ดังนั้น บริษัท A มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 และภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

เมื่อบริษัท A ได้รับใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากร สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อในธุรกิจของบริษัท A ได้ในเดือนถัดไป กล่าวคือ ภาษีซื้อจากการจ่ายค่าโฆษณานี้สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ หรือสามารถนำมาใช้เคลมแวทภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat ขาย)ได้

ยื่น ภ.พ.36 ล่าช้ามีบทลงโทษยังไงบ้าง

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องรับผิดทุกครั้งที่มีการยื่นแบบ ภ.พ.36 เป็นราย ๆ ไป 

กรณีไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนดเวลา ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและมีความรับผิด ดังนี้

1. ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 90(5) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่อัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับ ถ้ายื่นแบบฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา 300 บาท หากยื่นแบบฯ เกิน 7 วัน 500 บาท ตามข้อผ่อนปรนการปรับ

2. เงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ทั้งนี้ กรณีไม่ได้ยื่นแบบฯ หรือยื่นแบบฯ นำส่งเมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบฯ ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เสียเฉพาะเงินเพิ่ม ตามข้อ 18 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542ฯ เว้นแต่กรณีรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0

ดังนั้น กรณีบริษัทชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โดยยื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร เกินกำหนดเวลา จึงต้องรับผิดเสียเฉพาะค่าปรับอาญา เงินภาษี และเงินเพิ่มเท่านั้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : http://interapp3.rd.go.th

 821
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์