ประเด็นที่ต้องรู้ก่อนจะยื่นภาษีประจำปี

ประเด็นที่ต้องรู้ก่อนจะยื่นภาษีประจำปี

การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

คนที่มีหน้าที่ยื่นภาษี คือ

"คนโสด" ที่มีรายได้ต่อไปนี้ เงินเดือนล้วนๆ > ปีละ 120,000 บาท รายได้อื่นๆ > ปีละ 60,000 บาท

"คนมีคู่สมรสไม่มีเงินได้" ที่มีรายได้ต่อไปนี้ เงินเดือนล้วนๆ > ปีละ 220,000 บาท รายได้อื่นๆ > ปีละ 120,000 บาท

เรื่องที่เข้าใจผิด : ขอคืนภาษี

เราจะขอคืนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อเรามีภาษีที่จ่ายล่วงหน้าไว้มากกว่าภาษีทั้งปีที่คำนวณออกมาได้ เช่น ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากการทำงานไว้ 2000 บาท แต่พอคำนวณภาษีแล้วไม่ต้องเสียภาษี แบบนี้เราสามารถขอคืนภาษี 2000 บาทที่จ่ายเกินไปได้ ซึ่งหลักการนี้ มาจากความสัมพันธ์ของภาษี คือ ภาษีที่จ่ายเพิ่มหรือขอคืน มาจาก ภาษีประจำปี - ภาษีครึ่งปี - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนั้น
ถ้าไม่มีการจ่ายล่วงหน้าไว้ผ่านภาษีครึ่งปีหรือถูกหักภาษีไว้ ต่อให้คำนวณแล้วไม่เสียภาษีก็ไม่สามารถขอคืนภาษีได้

สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนยื่นและเสียภาษีประจำปี คือ

1. เรามีหน้าที่ยื่นภาษีหรือเปล่า

2. วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3. ในระหว่างปีเรามีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไว้เท่าไร

ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีที่อยากให้เข้าใจ คือ วิธีเงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิคืออะไร เงินได้สุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน ได้ออกมาเท่าไร เราก็เอามาคำนวณจากตารางอัตราภาษี เช่น ถ้าเงินได้สุทธิ = 600,000 บาท แปลว่าเราจะเสียภาษีทั้งหมดคือ 42,500 บาท เมื่อเรารู้ความสัมพันธ์เงินได้สุทธิ ว่ายิ่งมากยิ่งเสียภาษีมาก เรายิ่งต้องทำความเข้าใจ เรื่องของรายละเอียดแต่ละตัว นั่นคือ รายได้ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน รายได้ (จริงๆเรียกว่า เงินได้) เราต้องรู้ว่าเงินได้เราทั้งปีมีเท่าไร กฎหมายยกเว้นไหม ถือเป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย (มีทั้งหมด 8 ประเภท) โดยปกติเงินได้ที่ได้จากการทำงาน กฎหมายไม่ยกเว้นให้หรอก แปลว่าเราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราได้รับ ถือเป็นประเภทไหนตามกฎหมาย รู้เงินได้ แล้วจะสัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย เพราะเงินได้แต่ละประเภทของเราที่มี มันหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไร เลือกหักแบบไหนได้บ้าง เหมาหรือตามจริง การหักค่าใช้จ่ายนี้ กฎหมายจะกำหนดเงื่อนไขมาให้ ดังนั้นต้องเข้าใจเรื่องนี้ด้วย ตัวอย่างเงินได้กับค่าใช้จ่าย เช่น รายได้เงินเดือนกับรายได้ฟรีแลนซ์เป็นประเภทที่ 1 และ 2 ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50%ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100000 บาท หรือ ขายของออนไลน์ (ซื้อมาขายไป) เป็นประเภทที่ 8 หักเหมา 60% ของเงินได้ หรือ ตามจริงก็ได้ สุดท้ายคือค่าลดหย่อน เราต้องรู้ว่าค่าลดหย่อนของเรามีอะไรบ้าง เพราะในแต่ละปีมีไม่เหมือน ดังนั้นอย่าลืมเช็คให้ดีและเตรียมเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้พร้อม บางตัวก็ไม่ต้องเตรียมเพราะมีการส่งข้อมูลให้สรรพากรแล้ว ตัวอย่างค่าลดหย่อน เช่น ประกัน กองทุน SSF RMF ดอกเบี้ยบ้าน ฯลฯ

เตรียมข้อมูลประจำปีทั้งหมดให้พร้อม

1. รายได้มีอะไรบ้าง เป็นประเภทไหนตามกฎหมาย

2. รายได้ทั้งหมดที่เรามี หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร

3. เรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง เอามากรอก

เตรียมหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือหักภาษี (ใบ 50ทวิ) ไปจนถึงเอกสารลดหย่อนต่างๆ เวลายื่นภาษีกรอกแค่ตัวเลข
ใบ 50 ทวิ คืออะไร (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย) เอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่
เหลือเท่าไหร่

ต้องส่งเอกสารให้สรรพากรดูเมื่อ

1. เราได้คืนภาษีและขอคืน สรรพากรขอตรวจ (อัพโหลดเอกสารหลังยื่นภาษีได้เลย)

2. เราจ่ายเพิ่ม แต่สรรพากรมีข้อมูลไม่ตรงกับเรา และอยากตรวจสอบเพิ่มเติม เชิญเราไปให้ข้อมูล (เอาเอกสารไปให้ดู)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ขอบคุณข้อมูลจาก : TAXBugnoms

 315
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
ภ.พ.36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ฯ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์