Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน

Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน



การปิดงบการเงินนั้นหาก ปิดไม่เหมาะสมอาจมีตัวเลขบางอย่าง ที่แสดงถึงความผิดปกติของงบการเงิน ของกิจการเราได้

ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ นักลงทุนที่มาอ่านงบ, ผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบฯ หรือ แม้แต่สรรพากรที่ได้ข้อมูลตอนยื่นงบไป อาจเคลือบแคลงใจ และเป็นเหตุต้องสงสัยได้

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่

1.เงินสด เยอะมาก

กิจการที่เงินสด เยอะมากๆ อาจมีเหตุต้องสงสัยว่า เงินสดนั้นมีอยู่จริงๆ หรือไม่ เพราะยุคสมัยนี้ ระบบการเงินพัฒนาไปไกลมาก การใช้เงินสด รับ-จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการค้าที่สูงๆ อาจมีข้อสงสัยว่ารายการเหล่านั้น เกิดจริงหรือไม่ ? แล้วถ้าเกิดจริง ทำไมต้องใช้เงินสด ?

เพราะ ข้อจำกัดของเงินสด ในการตรวจสอบนั่นคือ ตรวจสอบได้ยากมาก ว่าเงินนั้นมาจากใคร เป้นของใคร ก็เราดมไม่ได้นี่เนอะ ดังนั้นแล้วกิจการใดที่มีเงินสดมากเกินควร (แต่ ร้านสะดวกซื้ออาจมีเงินสดมากได้ เพราะรูปแบบธุรกิจเค้าเป็นแบบนั้น ดูอย่าง เซเว่นสิครับ รับเงินสดเยอะจริงในแต่ละวัน) กิจการใดที่มีเงินสดมากๆ ในงบการเงิน หรือบันทึกบัญชี ผ่านเงินสดรับ-จ่าย อาจต้องหาคำอธิบายเตรียมๆไว้บ้างนะว่าทำไม

2.งบการเงินไม่มี รายการอาคารและที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการ หรือไม่มีรายการค่าเช่าในส่วนของค่าใช้จ่าย

เอออันนี้ หลายๆท่านมักมองข้ามไปนะ การที่งบการเงิน ไม่มีรายการสินทรัพย์ถาวร พวก อาคาร/ที่ดิน/ออฟฟิต แล้วกิจการเราใช้อะไรดำเนินงาน ? ….. แต่ถ้ากิจการเหล่านี้ เช่า สถานที่อยู่ก็อาจเป็นเหตุผลได้ว่า เพราะการเช่า จึงไม่มีสินทรัพย์ ถาวร ในงบการเงิน แต่บางงบการเงินนั้น ไม่มีรายการ ค่าเช่า อีก แบบนี้ยิ่งแปลกเพราะเหมือนกับว่ากิจการเหล่านี้ ไม่มีสินทรัพย์ดำเนินงานอะไรเลย

แบบนี้นักลงทุนที่มาอ่านงบ ก็อาจสงสัยได้ หรือถ้าในมุม สรรพากร ก็อาจสงสัยได้เช่นกันว่ากิจการ มีซ่อนกิจการอื่นไว้หรือไม่ (อาจไปใช้อาคารสำนักงานของกิจการอื่นๆ ) อะไรแบบนี้

3.รายการ ลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ

อันนี้เบสิค สุดๆ ถามว่าจริงๆ แล้วกรรมการสามารถ กู้ยืมเงินบริษัทได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ไม่มีกฏหมายข้อใดกำหนดว่าไม่ได้ แต่แต่แต่ ถ้าจำนวนนี้สูงมากเกินไปแปลว่าอะไร ?

  • กรรมการ เลือกที่จะดึงเงินออกจากบริษัทผ่านทางเงินกู้ยืม เพราะมันไม่มีภาระภาษี บุคคลธรรมดา ต่อกรรมการ (ถ้ารับเป็นเงินเดือน สิ้นปีกรรมการต้องยื่นภาษีไงครับ)
  • กรรมการ ขายสินค้า แต่เงินอยู่ที่กรรมการ บริษัทเลยบันทึกการขาย ผ่านบัญชีลูกหนี้กรรมการ
  • นักบัญชี ไม่รู้จะลงบัญชีอย่างไร ตบยอดตรงไหน ก็ยัดมันเข้าบัญชีลูกหนี้กรรมการ

และอีก หลายต่อหลายสาเหตุที่ทำให้มีบัญชีนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ย ลองนึกภาพตามนะะครับ ถ้าเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างกรรมการ และ บริษัท จริง บัญชีลูกหนี้กรรมการ ควรจะเป็นเลขกลมๆ เพราะเราคงไม่กู้หรือคืนเงินกู้ยืม ด้วยยอด 120,515 บาท มีเศษ ๆ หรอกถูกมั้ย หรือ  หากมองไวๆแบบง่ายๆ บัญชีนี้ไม่ควรมียอดสูงเกินกว่า หนี้สินหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า/ เงินกู้จากธนาคาร เพราะ ถ้าบริษัทมีเงินเหลือให้กรรมการกู้ยืมจริง เหตุไฉน จึงไม่เอาเงินนั้นมาจ่ายชำระหนี้สิน ถูกมั้ยครับ

4.สินค้าคงเหลือ ยอดสูงมากเกินควร

รายการ สินค้า สิ้นงวดนั้นต้องบอกว่าเป็นรายการที่ใครๆ (ผู้สอบบัญ๙ี หรือ สรรพากร หรือ นักลงทุน) ต้องแวะมาดูเพราะสามารถบอกอะไรได้หลายต่อหลายอย่าง เช่น

  • เหลือเยอะมั้ย ถ้าเยอะเยอะมากแค่ไหน เพราะหมายถึง เงินไปจมในสต้อคเกินไปป่าว
  • หรือที่เหลือ มากๆนั้น มีสินค้าที่ล้าสมัย เสื่อมสภาพมั้ย ขายไม่ออก
  • หากมียอดสูงกว่า ยอดขายใน 1 ปี อาจบ่งบอกว่ากิจการมีการขาย แต่ไม่มีการบันทึกบัญชีหรือไม่
  • สินค้าคงเหลือ มีแต่ยอดสูง แต่ไม่มีอยู่จริง
  • อื่นๆ

สินค้าคงเหลือ ค่อนข้างที่จะต้อง ดูเป็นพิเศษ หากกิจการใดมีระบบควบคุมที่ดี ก็คงต้องตรวจนับสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนสิ้นปี ว่ามีจริงๆเท่าไหร่ มีเสื่อมสภาพบ้างหรือไม่ โดยอาจมีผู้สอบบัญชี (อย่างผม) ไปช่วยดูการตรวจนับด้วย เพื่อที่จะเสนอแนะหรือแนะนำ ระบบควบคุมให้ดียิ่งขึ้น

5.มีรายการ ซื้อสินค้า ป็นเงินตราต่างประเทศ  แต่งบกำไร/ขาดทุน ไม่ปรากฏว่ามีรายการกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

อันนี้คือ ยังไง๊ยังไงก็แปลก เพราะหากมีรายการการค้าขายกับต่างประเทศแล้ว มักเป้นปกติที่ต้องมีรายการ กำไร หรือ ขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ขอบคุณที่มา : https://onesiri-acc.com

 606
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์