sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์
ย้อนกลับ
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
สำหรับผู้จ่ายเงิน
สามารถจ่ายเงินและยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ครบจบในขั้นตอนเดียว ผ่านระบบออนไลน์
ลดต้นทุนในการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไม่ต้องออกและจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
สะดวก ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับกรมสรรพากรด้วยตนเอง และสามารถชำระเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนดได้
สามารถตรวจสอบผลการโอนเงิน และการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายงานผ่านช่องทางออนไลน์ (www.rd.go.th) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หากจ่ายเงินโดยใช้ระบบ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะลดเหลืออัตรา 1% (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2566-31 ธันวาคม 2568)
สำหรับผู้รับเงิน
ได้รับการแจ้งรายการโอนเงิน และข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านทางอีเมล (ตามที่ผู้จ่ายเงินได้ระบุไว้ในคำสั่งโอนเงิน)
ไม่ต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น จากอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ลดลง ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อผู้จ่ายเงินใช้บริการ e-Withholding Tax
วิธีใช้งาน
1.สมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ E-withholding tax แล้ว
2.เมื่อโอนเงินให้ผู้รับและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของผู้รับด้วย ผ่านระบบโอนเงินของธนาคาร
3.ธนาคารจะทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงินภายในเวลา 4 วัน
4.ทั้งผู้โอนเงินและผู้รับสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ภายใน 6 วัน ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th ของกรมสรรพากร โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ Password ที่เคยยื่นภาษีของระบบ e-Fillng ได้เลย
โดยไม่ต้องสมัครบริการใดๆ เพิ่มเติมอีก
สมัครใช้บริการกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ e-Withholding Tax ได้แล้ว จำนวน 11 แห่ง
สถาบันการเงินที่พร้อมให้บริการแล้ว 9 แห่ง
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพ
6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
สถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบ 2 แห่ง
1. ธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต
2. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
อัตราค่าบริการ
เป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด สูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการโอน 1 ครั้ง
ที่มา : www.itax.in.th,กรมสรรพากร
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
e-Withholding Tax
793
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง
วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
AI จะกลายเป็นเพื่อนใหม่ของนักบัญชีหรือไม่ ?
AI จะกลายเป็นเพื่อนใหม่ของนักบัญชีหรือไม่ ?
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ
3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ
หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com