ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร?

ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  

ตรายางบริษัท สำคัญอย่างไร? 

ตรายางบริษัท มีส่วนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำสัญญา ทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ ทั้งยังมีควาเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ดีกว่าการใช้ลายมือชื่ออีกด้วย 

หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัท

การทำตรายางบริษัทมีหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้  

  1. ตรายางบริษัทต้องมีโลโก้บริษัท แต่อาจจะมีหรือไม่มีชื่อบริษัทก็ได้
  2. ในกรณีที่ตรายางมีชื่อบริษัท สามารถใช้ได้ทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ *แต่ต้องเป็นชื่อที่ตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียนบริษัท 
  3. ตรายางบริษัทสำหรับนิติบุคคล หากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีการระบุประเภทของนิติบุคคลด้วย เช่น Company Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Co.,Ltd และ Corporation Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Corp.,Ltd ส่วนภาษาไทยใช้คำว่า บริษัท…จำกัด (แบบเต็ม)
  4. ตรายางบริษัทสำหรับห้างหุ้นส่วน หากใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องระบุว่าเป็น Limited Partnership ส่วนภาษาไทยให้ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วน…จำกัด
  5. หมึกสำหรับใช้กับตรายางบริษัทไม่ควรเป็นสีดำ เพราะจะทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเอกสารฉบับจริง หรือเป็นสำเนา 
  6. ตรายางบริษัท ต้องไม่มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ดังนี้
  • เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์, พระบรมราชาภิไธย, พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสี หรือสมเด็จพระยุพราช
  • พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
  • พระมหามงกุฎ, มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
  • ฉัตรต่างๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ, ตราแผ่นดิน, ตราราชการ, ตราครุฑพ่าห์ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ 
  • พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ (ลัญจกร หมายถึง ตราประทับ)
  • ชื่อ หรือเครื่องหมายกาชาด, เครื่องหมายราชการ และสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เช่น ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ ศาลาไทย

สรุปแล้ว ‘ตรายางบริษัท’ ใช้เพื่อเป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ตรายางบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ มีความเป็นสากล และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งการทำตรายางสามารถสั่งผลิตได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางกฎหมาย หากต้องการทำตรายางบริษัท ก็อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และรู้หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัทเป็นอย่างดี 



ขอบคุณที่มา : www.ofm.co.th

 713
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หากจำนวนเงินค่าบริการหรือค่าจ้างที่ต้องจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและออกใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือไม่
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์