มาทำความรู้จักกับ ภ.พ.30

มาทำความรู้จักกับ ภ.พ.30

แบบ ภ.พ.30 คือ แบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้



ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้า,วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน หรือค่าใช้จ่ายต่าง ที่ใช้ในการดำเนินการของกิจการ โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้าและบริการ แต่เงิน 7% นี้จะไม่ใช่ของกิจการ แต่เป็นของรัฐที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร

** เอกสารที่แสดงในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คือเอกสารใบกำกับภาษี

โดยทุกๆสิ้นเดือนเจ้าของกิจการจะนำเอกสารใบกำกับภาษีมาสรุปยอดภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยนำ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในแต่ละเดือน


ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ด้วย ระบบ Value Added Tax โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed เป็นระบบสำหรับเรียกดูรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขายของกิจการ โดยสามารถเลือกรายงานตามงวดที่ ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถ พิมพ์ ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 ทั้งใบปะหน้า และใบแนบ รวมทั้งหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย


แอพพลิเคชั่นสำหรับเรายงานภาษี

รายงานภาษีซื้อ

เรียกดูรายงานภาษีซื้อของกิจการ และเป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร
ดูเพิ่มเติม
รายงานภาษีขาย

รายงานภาษีขาย

เรียกดูรายงานภาษีขายของและเป็นเอกสารประกอบ การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) แก่กรมสรรพากร
ดูเพิ่มเติม
Reprocess Vat

Reprocess Vat

ตรวจสอบการ Post รายการของภาษีซื้อ และภาษีขาย ว่ามีการ Post ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
ดูเพิ่มเติม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์รายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ทั้งใบแนบ และใบปะหน้าเพื่อนำส่งแก่กรมสรรพากรต่อไป
ดูเพิ่มเติม
ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์รายงานภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายของกิจการ
ดูเพิ่มเติม
บัญชีพิเศษภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บัญชีพิเศษภาษี หัก ณ ที่จ่าย

รายงานที่แสดงบัญชีพิเศษภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูล การหัก ณ ที่จ่ายของกิจการ ว่ามีการหักของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลอะไรบ้าง
ดูเพิ่มเติม
หนังสือรับรองการ หัก ณ ที่จ่าย

หนังสือรับรองการ หัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ กรณีที่มีการหัก ณ ที่จ่ายจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา
ดูเพิ่มเติม
Export Tax

Export Tax

การโอนข้อมูลเกี่ยวกับภาษี และภ.ง.ด. ต่าง ๆ ที่อยู่ในโปรแกรม ไปเก็บไว้ที่ File ที่ผู้ใช้ต้องการ
ดูเพิ่มเติม
 177
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์