5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี


ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้

1. ผู้ทำบัญชี คือใคร?

          ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง

2. ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

          คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า

3. นักบัญชีทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่?

          นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี

4. ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) นับอย่างไร?

          ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development) เพื่อคงสถานะความรู้ทางวิชาชีพไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มพูมความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

          โดยจะต้องนับชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ใน 27 ชั่วโมงนั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และเรื่องอื่น ๆ อีก 9 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยในรอบ 1 ปีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากนี้การเป็นวิทยากรสามารถนับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี และการเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา นับได้วิชาละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี

5. การแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ต้องทำอย่างไร?

         ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทางอินเทอร์เน็ตใน www.dbd.go.th ภายใน 60 วันหลังจากสิ้นสุดปีปฏิทิน ซึ่งได้แก่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม ของปีถัดไปนั่นเอง

         ทราบอย่างนี้แล้วผู้ทำบัญชีอย่าลืม ทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วนนะคะ สำหรับผู้ที่เป็นนักบัญชีทั่วไป ก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องเช่นกันค่ะ

ที่มา : https://th.jobsdb.com/
 1124
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
การวางแผนภาษีสิ้นปีเป็นกระบวนการในการจัดการเรื่องการเงินเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีประจำปีที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการกำหนดเวลาการขายการซื้อหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อให้สามารถดำเนินการในกรอบเวลาที่ดีที่สุด การชะลอการกระทำหรือสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นก่อนสิ้นปีจะมีผลอย่างมากต่อการเรียกเก็บภาษี มีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนภาษีสิ้นปีเช่นกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์