5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)

5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)



Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้น

ซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย

ในปัจจุบัน โปรแกรมบัญชี ต่างก็ออกมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ให้เจ้าของกิจการ SME ได้ทดลองใช้ฟรี หรือ แบบที่สามารถจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อใช้ฟังก์ชันที่ครบครันมากขึ้นก็ได้เช่นกัน มีทั้งแบบที่มีระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถทำงานบัญชี หรือ เอกสารผ่านออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม.


ข้อดีของ Accounting Software สำหรับเจ้าของกิจการ SME

1.การใช้ Software ทำให้งานเอกสารในบริษัทลดน้อยลง

เมื่อพูดถึงงานบัญชี แน่นอนว่าก็คงต้องนึกถึงการตรวจเช็คเอกสารกองหนาเตอะที่ต้องดู ทั้งตัวเลข ลายเซ็นต์ และข้อมูลทุกตัวอักษรให้มีความถูกต้องอยู่ตลอด นอกจากนี้คุณยังต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บเอกสารเอกสำคัญ ที่ต้องรวบรวมไว้ตลอดทั้งปี หรือเมื่อครบปีแล้ว ก็ต้องมีการเคลียร์เอกสารกันครั้งใหญ่ การใช้โปรแกรมบัญชี นั้นจะช่วยทำให้งานเอกสารเหล่านี้น้อยลงและสามารถจัดการได้ง่ายขึ้นและไม่ต้องวุ่นวายกับการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายเอกสารกองโตให้เหนื่อยกายและเหนื่อยใจอีกต่อไป

2.ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายอีกต่อไป

แน่นอนว่าเอกสารทางธุรกิจนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาการซื้อขาย ใบรับของ ในสำคัญรับเงิน หรืออื่นๆอีกมากมาย ถ้าหากเอกสารแต่ละใบนั้นหายไปละก็ อาจจะทำให้มีปัญหาในภายหลังได้ การใช้โปรแกรมบัญชี จะช่วยทำให้หมดความกังวลเรื่องเอกสารหายหรือหาเอกสารสำคัญไม่เจอ เพราะระบบจะทำการเก็บข้อมูลผ่านพื้นที่ออนไลน์ ทำให้ไม่ว่าเอกสารตัวจริงละอยู่ที่ไหนก็มีหลักฐานที่ได้เป็นบันทึกไว้เรียบร้อย แถมยังสามารถหาเอกสารต่างๆได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

3.เข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา

หลายระบบของโปรแกรมบัญชี ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลผ่าน พื้นที่ออนไลน์ ทำให้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนเพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเปิดดูเอกสารและข้อมูลทางบัญชีได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศไปนั่งจมกับกองเอกสารอีกต่อไป

4.ช่วยให้การวางแผนธุรกิจของคุณนั้นง่ายขึ้น

เมื่อข้อมูลทางบัญชีทุกอย่างถูกบันทึกในระบบก็จะทำให้คุณนั้นเห็นตัวเลขในแต่ละบัญชี ว่ามีความสมดุลหรือขาดตกบกพร่องตรงไหน ทำให้คุณสามารถประเมินสถานการณ์ภาพรวมของธุรกิจและปัญที่อาจจะเกิดขึ้นได้ พร้อมวางแผนสำรองในการเตรียมรับมือ

5. มีเวลาเหลือไปพัฒนาธุรกิจส่วนอื่นๆ  ต่อ

เมื่อการดูแลธุรกิจของคุณนั้นสะดวกและรวดเร็วขึ้นมากกว่าเดิม ก็ทำให้คุณนั้นมีเวลาดูแลกิจการในส่วนอื่นๆทั้งเรื่องของขวัญกำลังใจของพนักงาน การวิเคราะห์ตลาด การรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้า หรือแนวทางในการขยายกิจการ เพื่อให้กิจการของคุณนั้นเติบโตและมั่งคงมากยิ่งขึ้น


ที่มา : www.peerpower.co.th

 797
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ดังนั้นลักษณะของป้ายที่เสียภาษี ? ก็คงเป็นป้ายที่เกี่ยวกับการค้าหรือกิจการหารายได้ต่างๆนั้นเอง
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์