sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
อยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องทำอย่างไร
อยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องทำอย่างไร
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
อยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องทำอย่างไร
อยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องทำอย่างไร
ย้อนกลับ
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA) ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีจะเป็นบุคคลภายนอกซึ่งเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท และแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะนำงบการเงินไปใช้ว่างบการเงินมีความถูกต้องและเที่ยงธรรม โดยก่อนที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการฝึกหัดงานรวมไปถึงผ่านการทดสอบการหลายวิชา
ซึ่งในปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีกำหนดให้มีการทดสอบจำนวน 6 วิชา ได้แก่ วิชาบัญชี1 วิชาบัญชี 2 วิชาสอบบัญชี 1 วิชาสอบบัญชี 2 วิชากฎหมาย วิชากฎหมายภาษี นอกจากจะต้องสอบผ่านทั้งหมดทั้ง 6 วิชาแล้ว ผู้ที่ต้องการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตยังต้องเข้ารับการฝึกหัดงานด้านการสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยต้องมีระยะเวลาการฝึกงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีชั่วโมงในการทำงานเกินกว่า 3,000 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องถึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีได้ โดยผู้ที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีนั้นจะต้องทำการยื่นเอกสารแจ้งการฝึกหัดงานกับทางสภาวิชาชีพบัญชี โดยการสอบ CPA นั่นถือเป็นการสอบเพื่อที่จะได้รับใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี นอกจากนี้ CPA ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวผู้ตรวจสอบเองว่า มีความรู้ความสามารถทางบัญชีเป็นอย่างดี เนื่องจากต้องผ่านการทดสอบที่ค่อนข้างยากถึง 6 วิชา ประกอบกับการต้องฝึกงานมากกว่า 3,000 ชั่วโมง อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มความเจริญก้าวหน้าในสายงานด้านบัญชีอีกด้วย ทั้งนี้นอกจากคุณสมบัติด้านวิชาการที่ยอดเยี่ยมแล้ว การจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ดีได้นั้นจะต้องคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณและการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง
เลือกซื้อ Software บัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี Click
บทความโดย : http://www.accvenue.com/
ผู้ตรวจสอบบัญชี
บัญชี
วิชาบัญชี
สอบบัญชี
งบการเงิน
1721
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
หากยื่นภาษี 2565 ล่าช้ามีบทลงโทษอย่างไร
หากยื่นภาษี 2565 ล่าช้ามีบทลงโทษอย่างไร
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่ ?
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่
ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่
กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?
เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com