สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้


ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี   

แต่ไม่ต้องกลัว บทความนี้เราได้สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และหลักการทางภาษีสําหรับกิจการ SMEs ทั่วไป หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) มาไว้ให้แบบย่อๆ เพื่อผู้ทำบัญชีทุกท่านให้มองเห็นภาพรวมของความแตกต่าง สำหรับแต่ละรายการในงบการเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี VS หลักการทางภาษีสำหรับกิจการ NPAEs

1. เรื่องทั่วไป ในที่นี้เราพูดถึงภาพรวมของงบการเงิน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี หรือว่าเปลี่ยนประมาณการทางบัญชี สิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐาน คือ ปรับปรุงรายการ และเปิดเผยในงบการเงิน ส่วนทางภาษีนั้นยุ่งยากหน่อยตรงที่ว่า บางเรื่องต้องขออนุมัติจากสรรพากร และต้องแก้ไข ภงด.50 ที่เคยยื่นไปย้อนหลังนะคะ



2. งบแสดงฐานะการเงิน
ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีหลากหลายหัวข้อที่แตกต่างกันระหว่างบัญชีและภาษี เช่น การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ การตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ การตีราคาเงินลงทุน การคิดต้นทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการคิดค่าเสื่อม ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ






3. งบกำไรขาดทุน ตัวอย่างขอข้อแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่เห็นได้ชัดของงบกำไรขาดทุน เช่น การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม การรับรู้สัญญาเช่าดำเนินงานและการเงิน ประมาณการหนี้สินต่างๆ การรับรู้รายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญญาก่อสร้าง การขายอสังหาริมทรัพย์ ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ







ความแตกต่างทางบัญชีและภาษี ถ้าศึกษาดีๆ แล้วแตกต่างกันในหลายๆ จุดเลยค่ะ หากอยากเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าลองประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง และหมั่นทบทวนความรู้อยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะถึงเวลาคำนวณภาษีตอนปลายปี หรือลองเข้าอบรมในคอร์ส “สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ NPAEs”  เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : thaicpdathome.com
 1981
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์