Tax From Home อยู่บ้านก็ทำธุรกรรมภาษีได้ง่าย ๆ

Tax From Home อยู่บ้านก็ทำธุรกรรมภาษีได้ง่าย ๆ


ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย

โดยทุกขั้นตอนของการทำธุรกรรมจะผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ www.rd.go.th

1.การลงทะเบียน e-Registration ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำแบบออนไลน์และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง e-mail ได้ทันที
2.การยื่นแบบ e-Filing ได้สิทธิพิเศษขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
3.การชำระภาษี e-Payment สำหรับผู้เสียภาษีที่ใช้บริการ e-Withholding Tax (ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย อิเล็กทรอนิกส์) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการสำหรับการชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ จากธนาคารที่ร่วมโครงการ ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะได้รับการยกเว้น ค่าธรรมเนียมการใช้บริการชำระภาษีหากชำระผ่าน QR Code หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆตามเงื่อนไขของธนาคาร
4.การคืนเงินภาษี e-Refund ผู้เสียภาษีที่ชำระภาษีไว้เกิน กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย

การทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน TAX from Home จะช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีได้รับความสะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยลดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญยื่นภาษีจากที่บ้านยังได้รับการขยายเวลาไปอีกหลายวันด้วย ที่มา: https://thaicpdathome.com/article/detail/128/Tax-from-Home-
 967
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์