เอกสาร PR PO เอาไว้ใช้ทำอะไร

เอกสาร PR PO เอาไว้ใช้ทำอะไร


ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้

วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้เอกสาร PR และ PO ทั้ง 2 เอกสารจะเกี่ยวกับกับการควบคุมภายในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง โดยทั้ง 2 ชนิดเอกสารใช้งานแตกต่างกันดังนี้

PR (Purchase Requisition) หมายถึงใบขอซื้อจะเป็นเอกสารที่ใช้แผนกต่างๆ ในบริษัทแจ้งความประสงค์ว่าอยากจะซื้ออะไร โดยผู้ขอซื้อจะต้องใส่เหตุผลที่ต้องการซื้อว่าจะต้องนำมาใช้สำหรับทำอะไร และจะต้องให้หัวหน้าแผนกอนุมัติก่อนส่งไปให้แผนกจัดซื้อ เพื่อทำการจัดซื้อ

PO (Purchase Order) หมายถึงใบสั่งซื้อจะเป็นเอกสารที่แผนกจัดซื้อ ออกให้กับผู้ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายสินค้าหรือบริการทราบว่าเราต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไร ราคาเท่าไหร่ และมีเงื่อนไขการค้าเป็นอย่างไร และเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและบริการเอกสารใบสั่งซื้อจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการขึ้นศาลหรือโต้แย้งกับผู้ขายได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



แหล่งที่มา : Link
 6278
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์