ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่

ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่


ต้นทุนผันแปร 
และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น

ต้นทุนคงที่  เป็นต้นทุนซึ่งจำนวนรวมจะไม่เปลี่ยนแปลงไปกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตภายในช่วงที่พิจารณา หรือไม่ว่าปริมาณกิจกรรมจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้นทุนคงที่รวมจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เงินเดือนผู้ควบคุมตรวจตราโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงานเครื่องจักร ภาษีและค่าเช่า  ต้นทุนกึ่งผันแปร  คือ ต้นทุนที่มีลักษณะผสมทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร นั่นคือ จำนวนรวมของต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณของกิจกรรม แต่ไม่ได้แปรไปในอัตราส่วนโดยตรงกับปริมาณกิจกรรม เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่ากำลังไฟ ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นต้นต้นทุนแผนกผลิต  แผนกผลิตเป็นแผนกที่ทำการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรา ต้นทุนของแผนกผลิตจะถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพราะเกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น แผนกตัด แผนกประกอบ แผนกตกแต่ง เป็นต้น

ต้นทุนแผนกบริการ  แผนกบริการเป็นแผนกที่ไม่ได้ผลิตสินค้าโดยตรงแต่ให้บริการแก่แผนกอื่นทั้งที่เป็นแผนกผลิตและแผนกบริการด้วยกัน เช่น แผนกบำรุงรักษา แผนกบุคคล แผนกบัญชี ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

ต้นทุนผลิตภัณฑ์  หมายถึงต้นทุนที่เป็นตัวสินค้า ในกิจการอุตสาหกรรมต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็คือผลรวมของต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนในกิจการซื้อมาขายไป ต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็ คือ ค่าซื้อสินค้า

ต้นทุนประจำงวด  เป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือไม่ได้ติดตามสินค้าที่ผลิต แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายในการขายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำไปหักจากยอดขายในงวดบัญชีปัจจุบันต้นทุนที่จำแนกตามส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป  หรือที่เรียกว่า ต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน และต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต

1. วัตถุดิบทางตรง หมายถึง วัตถุดิบที่ถูกใช้โดยตรงในการผลิต และแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าสำเร็จรูป และจะเป็นส่วนประกอบสำคัญสามารถคิดเข้าตัวผลิตภัณฑ์ได้ หรือสามารถบอกได้แน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีต้นทุนวัตถุดิบเท่าใด เช่น ผ้าที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังสัตว์ที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า เป็นต้น

2. ค่าแรงงานทางตรง หมายถึง ค่าแรงงานที่จ่ายให้แก่คนงานที่ทำการผลิตโดยตรง และ

สามารถบอกได้ชัดเจนว่าในผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ๆ มีต้นทุนค่าแรงงานทางตรงเท่าใด

3. ค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งอาจเรียกว่าโสหุ้ยการผลิต หรือค่าใช้จ่ายโรงงาน หมายถึง ต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในโรงงานนอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง

ระบบต้นทุนการผลิต Job Cost ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed
ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจโครงสร้างของต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น

ระบบบริหารต้นทุนการผลิต (Job Cost) ช่วยควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถกำหนดสูตรการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มการควบคุมวัตถุดิบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถประมาณการผลิตล่วงหน้าได้ก่อนที่จะมีการผลิตจริงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น วัตถุดิบ (DM) แรงงาน (DL) และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (HO) สามารถตรวจสอบสินค้าที่ผลิตเสร็จ (QC) พิจารณาของดีหรือของเสีย สามารถปันส่วนโสหุ้ยการผลิตได้ในกรณีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องการเพิ่มเป็นต้นทุนของสินค้า สิ่งที่สำคัญของการผลิตสินค้าคือการรับรู้ต้นทุนการผลิตที่ประมาณการไว้กับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โปรแกรมจะสรุปต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงจากการปิดใบสั่งผลิตเพื่อเปรียบเทียบกับยอดประมาณการผลิตที่ตั้งไว้ และนำมาพิจารณาเพื่อปรับวิธีการทำงานหรือขั้นตอนการผลิต สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้

ประมาณการผลิต

ประมาณการผลิต

สำหรับกำหนดค่ามาตรฐานของต้นทุนการผลิตงานตาม Job
ดูเพิ่มเติม
เปิดใบสั่งผลิต

เปิดใบสั่งผลิต

เพื่อเป็นการเปิดใบสั่งผลิตตามใบสั่งขาย หรือรายการที่กิจการจะผลิตเพื่อนำเข้า Stock สินค้า เป็นการเตรียมการผลิตสินค้าที่ต้องการ
ดูเพิ่มเติม
เบิกใช้วัตุดิบ

เบิกใช้วัตุดิบ

เพื่อบันทึกเบิกวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นการบันทึกรายการวัตถุดิบที่ใช้จริงในการผลิตสินค้า
ดูเพิ่มเติม
ค่าแรงทางตรง

ค่าแรงทางตรง

เพื่อบันทึกค่าแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นจริงในการผลิตสินค้า เป็นการคำนวนต้นทุนแรงงาน คิดเข้างานของงานผลิต
ดูเพิ่มเติม
ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่าย

เพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายคิดเข้างานที่เกิดขึ้นจริง ในกระบวนการผลิตสินค้า เป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาคิดเป็นต้นทุนสินค้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ส่งคืนวัตถุดิบ

ส่งคืนวัตถุดิบ

สำหรับบันทึกรายการส่งคืนวัตถุดิบที่เบิกไปเพื่อทำการผลิต เพื่อให้การคำนวณต้นทุนคงเหลือเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ไปจริง
ดูเพิ่มเติม
ส่งสินค้าผลิตเสร็จ

ส่งสินค้าผลิตเสร็จ

สำหรับบันทึกรับสินค้าที่ทำการผลิตเสร็จเข้าสู่คลังสินค้า เพื่อรอการนำไปผลิตต่อหรือเพื่อขาย
ดูเพิ่มเติม
รับคืนสินค้าผลิตเสร็จ

รับคืนสินค้าผลิตเสร็จ

สำหรับบันทึกรับคืนสินค้าที่เป็นของเสีย และของมีตำหนิทำการ Rework ใหม่อีกครั้ง
ดูเพิ่มเติม
ตรวจสอบสินค้า

ตรวจสอบสินค้า

สำหรับบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ทำการผลิตเสร็จ
ดูเพิ่มเติม
ปันส่วนโสหุ้ย

ปันส่วนโสหุ้ย

สำหรับปันส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้าเพื่อปันเข้าไปในต้นทุน/หน่วยของสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้
ดูเพิ่มเติม
ปิดใบสั่งผลิต

ปิดใบสั่งผลิต

สำหรับปิดใบสั่งผลิต เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาต้นทุนสินค้าต่อหน่วยสินค้า
ดูเพิ่มเติม
ปิด Job

ปิด Job

กรณีที่ Job ทำเสร็จสิ้นแล้วและไม่มีการเปิดใบสั่งผลิตที่จะทำการผลิตแล้ว (จบ Project ) ทำการปิด Job เพื่อรวบรวมต้นทุนใน Job งานทั้งหมด
ดูเพิ่มเติม



ขอบคุณบทความจาก :: https://sites.google.com 

 1171
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์