อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง


สำนักงานบัญชี
เป็นคำที่คุ้นหู และเคยได้ยินควบคู่กับการทำประกอบธุรกิจมานาน และนักบัญชีที่จบบัญชีบางส่วนก็อยากจะเปิดสำนักงานบัญชี เพราะการเปิดสำนักงานบัญชีไม่ใช้เรื่องยาก แต่ก็ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ามองจากผู้ที่ผ่านประสบการณ์ต่างๆ

ในการทำงานเกี่ยวกับบัญชี ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน รับผิดชอบงานส่วนไหน หรือ ด้านไหนของธุรกิจ แล้วพบเจอปัญหาที่ยาก เกินความสามารถ หรือ รับผิดชอบไม่ไหว กับผลกระทบจากการทำงานผิดพลาดต่างๆ ทำให้มุมมองในการเปิดสำนักงานบัญชีเป็นเรื่องที่ยากในความคิดของคนนั้น

แต่ ถ้าเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน แล้วผ่านการทำงานด้วยประสบการณ์ที่ดี แก้ไขปัญหาที่พบเจอได้ไม่ยาก และ รับผิดชอบกับงานที่เกิดความผิดพลาดไหว ก็อาจทำให้ความคิดในการเปิดสำนักงานบัญชีเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนนั้น แต่ไม่ก็ง่ายเลยซะทีเดียว ที่การเปิดสำนักงานบัญชีนั้นจะประสบความสำเร็จได้มีองค์ประกอบหลายอย่าง จะยกตัวอย่างหลักๆ ให้เห็นได้ชัด ว่าการเปิดสำนักงานบัญชีได้ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น

1.ผู้ที่จะเปิดสำนักงานบัญชี จะต้องมีผู้ทำบัญชีที่จบบัญชีตามที่กฎหมายรับรอง และสามารถขึ้นชื่อเป็นผู้ทำบัญชีได้
2.สำนักงานบัญชีต้องมีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นงานบริการ ไม่สามรถจับต้องได้ ทำให้การเริ่มต้นในการหาลูกค้านั้นทำได้ยาก ทำให้ต้องมีทักษะในการสื่อสาร หรือ สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
3.เมื่อทำบัญชีเสร็จตามรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องมีผู้สอบ ที่สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้ เพราะผู้ที่ลงชื่อทำบัญชี ไม่สามารถเซ็นรับรองงบการเงินเองได้
หลักๆ ที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเปิดสำนักงานบัญชีปัญหาที่จะต้องพบเจอยังมีอีกมากมาย แต่ไม่ยากเจอความสามารถของผู้ที่มีความ ขยัน ตั้งใจ และ อดทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักบัญชีที่จะต้องมี

สุดท้าย สิ่งที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของการเปิดสำนักงานบัญชี ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ จะต้องมีจรรยาบรรณของนักบัญชี อีกด้วย

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!


ที่มา : www.สํานักงานบัญชี.com
 9535
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์