อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio

อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio


อัตราส่วนทางการเงิน
  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ
กิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น


อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)

      • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)
      • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio)
      • อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio)
      • อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable turnover)
      • ระยะเวลาเก็บหนี้ (Collection period)
      • อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)
      • ระยะเวลาขายสินค้า (Holding period)

อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ (Efficiency Ratio)

      • อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total asset turnover)
      • อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Net fixed asset turnover)

อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)

      • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin)
      • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin)
      • อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin)
      • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA)
      • อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE)

อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio)

      • อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio)
      • อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest coverage ratio)
      • อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพคล่อง ของกิจการในการที่จะชำระหนี้ระยะสั้นหากอัตราส่วนนี้มีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่ากิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนทำให้อาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ หากอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น แต่หากมีค่าสูงกว่า1มาก ๆ อาจหมายถึงประสิทธิภาพในการใช้ สินทรัพย์์ของกิจการไม่ดีพอ อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท เช่น สินค้าคงเหลือ  อาจมีมูลค่าลดลงหากต้องรีบขายเพื่อนำไปชำระหนี้ ทำให้บางทีเราอาจใช้อัตราส่วนที่ไม่นำสินค้าคงเหลือมาคิดด้วยหรือเรียกว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว  (Quick ratio) 

สูตรการคำนวณ

 

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน  (CL)


อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ( Quick ratio หรือ Acid test ratio) คือ อัตราส่วนที่ปรับปรุงมาจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ซึ่งในการคำนวณจะไม่นำ สินค้าคงเหลือ มาคิดรวมกับ สินทรัพย์หมุนเวียน อื่น ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และ สินทรัพย์ในความต้องการของตลาด เนื่องจากสินค้าคงเหลือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า และอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วบอกถึง สภาพคล่อง ของกิจการได้ดีกว่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียน

 สูตรการคำนวณ

 

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
= (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ ) /หนี้สินหมุนเวียน 
หรือ   Quick Ratio = (CA – Inventory) /CL


อัตราส่วนเงินสด

อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio) คือ อัตราส่วนที่ใช้วิเคราะห์ สภาพคล่อง ของกิจการที่ตั้งอยู่บนหลักความระมัดระวังที่สุด โดยจะนำ สินทรัพย์หมุนเวียน ที่เป็น เงินสด และ หลักทรพย์ในความต้องการของตลาด หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน หากอัตราส่วนนี้สูงหมายถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง แต่หากสูงมากอาจหมายถึงกิจการถือเงินสดไว้มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ลดลง จึงควรดูอัตรา ส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ควบคู่กันด้วย

สูตรการคำนวณ


          

อัตราส่วนเงินสด = (เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด) / หนี้สินหมุนเวียน


อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อได้ คำนวณโดยยอดขายเชื่อสุทธิหารด้วย ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย โดยที่ลูกหนี้การค้าเฉลี่ยคือลูกหนี้การค้าต้นงวดบวกลูกหนี้การค้าปลายงวดหารด้วย 2 หากอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้สูงหมายความว่ากิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเกินไปอาจหมายถึงกิจการเข้มงวดในการให้เครดิตกับลูกค้ามากเกินไปทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการนำอัตราส่วนนี้ไปเปรียบเทียบกับกิจการอื่นจึงควรดูนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้ของกิจการด้วย


สูตรการคำนวณ

 


อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายเชื่อสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย


โดยที่ ลูกหนี้เฉลี่ยคำนวณได้จาก :


ลูกหนี้เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด) / 2


อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปกิจการจะไม่เปิดเผยยอดขายเชื่อสุทธิใน งบการเงิน  ในทางปฏิบัติเราจึงใช้ยอดขายสุทธิเป็นตัวตั้งแทน ดังนั้น


อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย


ระยะเวลาเก็บหนี้
 
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) คือ การคำนวนให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ ผลการคำนวนต่ำจะแสดงถึงคุณภาพของลูกหนี้ที่สามารถชำระได้เร็ว 

สูตรการคำนวณ

 


ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) วัน 
= 
365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้


อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ

อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถขายสินค้าคงเหลือ ออกไปได้ คำนวณโดยใช้ต้นทุนขายหารด้วยสินค้าคงเหลือเฉลี่ย โดยที่สินค้าคงเหลือเฉลี่ยคือสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกสินค้าคงเหลือปลายงวดหารด้วย 2 หากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสูงมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเนื่องจากสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปจนทำให้สินค้าไม่พอขายและต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด ดังนั้นจึงต้องมี การบริหารสินค้าคงเหลือ ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป           

สูตรการคำนวณ

 

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)

= ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory) 

โดยที่ สินค้าคงเหลือเฉลี่ยคำนวณได้จาก :


สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = สินค้าต้นงวด  +    สินค้าปลายงวด / 2

ระยะเวลาขายสินค้า 
ยิ่งขายได้เร็ว ระยะเวลาสั้น ยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน)

= 365 (วัน ) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)

 

 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

 เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES)ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ


สูตรการคำนวณ

 


อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า )

= ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

 

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร


สูตรการคำนวณ

 


อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง )

= ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)


อัตรากำไรขั้นต้น


แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการขายของบริษัท ในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนสินค้าก่อนหักค่าใช้จ่ายรวม ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

 


อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%)

= ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS / ขายสุทธิ SALES


= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES


อัตรากำไรจากการดำเนินงาน


แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการขายของบริษัท ในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนสินค้าและหักค่าใช้จ่ายรวม ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี


สูตรการคำนวณ

          อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%)

= กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)


อัตรากำไรสุทธิ


แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี


สูตรการคำนวณ

 

อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%)

= กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES)

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด 
เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการ ดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี


สูตรการคำนวณ


อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม  (ROA)(%)

= กำไรสุทธิ  (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio : D/E) คือ อัตราส่วนที่นำ หนี้สินรวม หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้จะแสดง โครงสร้างเงินทุน ของกิจการว่า สินทรัพย์  ของกิจการมาจากการกู้ยืม หรือมาจากทุนของกิจการ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงมีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถชำระ ดอกเบี้ย ได้สูงตามไปด้วย เนื่องจากหนี้สินที่มากทำให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกงวดไม่ว่ากิจการนั้นจะกำไรหรือขาดทุน ซึ่งต่างจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่หากกิจการขาดทุนอาจจะพิจารณาไม่จ่าย เงินปันผลก็ได้


สูตรการคำนวณ

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สิน /ส่วนของผู้ถือหุ้น


หรือ


อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

= (หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน) / ส่วนของผู้ถือหุ้น


อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย

เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง

สูตรการคำนวณ

 


ความ สามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า)

= {กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)} /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)


อัตราการจ่ายเงินปันผล
 

แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อจะได้พิจารณางบการเงินของกิจการที่ลงทุนได้

สูตรการคำนวณ

 

อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)

= เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : http://www.op.mahidol.ac.th

 2026
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์