หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64


ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่

       1. ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing)

       2. มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing)

       3. มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing)

สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปและของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญดังนี้

       1. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามทวงอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง เป็นต้น

       2. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000 บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000 บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้ว เป็นต้น

       3. กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท

       4. กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ

       5. กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

       6.กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยให้เจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งรวมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


 แหล่งที่มา : www.infoquest.co.th

 532
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์