การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน

การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน



    ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า

   จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ

   • ราคาขายต่อหน่วย คือราคาขายของผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ ไม่ใช่ราคาตั้งที่ยังต้องลดราคาอีก

   • ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย คือต้นทุนที่ผันแปรตามการผลิตคือ วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ค่าแรงงานและค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรง

   • ต้นทุนคงที่รวม คือค่าใช้จ่ายคงที่ที่จำเป็นต้องจ่ายไม่ว่าจะมีการขายเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นค่าแรงพนักงานขาย ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าเดินทางเป็นต้น

   การหาจุดคุ้มทุนเหมาะกับการวิเคราะห์สินค้าชนิดเดียวและเหมาะกับการตัดสินใจว่าจะไปออกบูทขายสินค้าหรือไม่ เพราะการไปออกบูทขายสินค้าแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ชัดเจนทำให้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะไปออกบูทขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศซึ่งบางครั้งไม่แน่ใจว่าควรจะไปดีหรือไม่ ยกตัวอย่างดังนี้

   การหาจุดคุ้มทุนยังสามารถคำนวณจำนวนหน่วยที่ขายเมื่อเราต้องการมีกำไรด้วยโดยการบวกกำไรที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในค่าใช้จ่ายคงที่จะทำให้ทราบว่าจะต้องขายปริมาณกี่ชิ้น กี่กล่องถึงจะได้กำไรตามที่เราต้องการ โดยมีรูปแบบการคำนวณดังนี้

   จุดคุ้มทุนบวกกับกำไรที่ต้องการ = (ค่าใช้จ่ายคงที่ +กำไรที่ต้องการ) / (ราคาขายต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

   การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนและจุดที่ขายแล้วมีกำไรตามต้องการก็เพื่อวางแผนการขายสินค้าก่อนที่จะผลิตเพราะผู้ประกอบการรายใหม่ไม่มีประสบการณ์การขายสินค้าก็ไม่แน่ใจว่าควรจะผลิตจำนวนมากน้อยเพียงใดทำให้สินค้าสำเร็จรูปไม่เพียงพอหรือมีเหลือมากเกินไป การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนนี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ในการวางแผนการผลิตและวางแผนการขายได้ด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : https://bsc.dip.go.th

 7721
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
การบริจาค ถือเป็นการให้และการเสียสละที่สามารถช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการสาธารณกุศล สาธารณะประโยชน์ การศึกษา และการกีฬา โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนนอกจากจะทำให้ผู้ให้มีความสุขแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์