ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ


ภาษีคำนวณอย่างไร

            กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามฐานภาษีแบบขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น เป็นดังนี้
   

เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


เมื่อทราบยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ดังนี้

 ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่  ช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น อัตราภาษี (ร้อยละ)
 ภาษีแต่ละขั้น
 0-150,000 บาท  150,000 บาท  ได้รับยกเว้น  -
 150,001-300,000 บาท  150,000 บาท 5  7,500 บาท
 300,001-500,000 บาท  200,000 บาท 10  20,000 บาท
 500,001-750,000 บาท  250,000 บาท 15  37,500 บาท
 750,001-1,000,000 บาท  250,000 บาท  20  50,000 บาท
 1,000,001-2,000,000 บาท  1,000,000 บาท  25  250,000 บาท
 2,000,001-4,000,000 บาท  2,000,000 บาท  30  600,000 บาท
 4,000,001 บาทขึ้นไป    35  


รายได้เท่าไรจึงเริ่มเสียภาษี

            การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งปีเท่ากับ 240,000 บาท (รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท) จะยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณเป็นดังนี้

            เงินได้พึงประเมินทั้งปี                                                                    240,000    บาท
            หัก ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 40 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท)    (60,000)    บาท
            หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                  (30,000)    บาท
            เงินได้สุทธิ                                                                                 150,000    บาท

            เมื่อเงินได้สุทธิอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นเงินได้สุทธิที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ทำให้ยังไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาท นั่นเอง
 

            อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณภาษีแล้ว ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม แต่หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานประจำกินเงินเดือน หากมีรายได้เกิน 50,000 บาท ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยยื่นภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไปนะคะ


 1072
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์