PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี

PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี



P = Plan คือ แผนดำเนินการ กำหนดเป้าหมายแล้ววางแผนกิจกรรม เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง


สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน

D = Do คือ ลงมือดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยระหว่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย

กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ลงมือปฏิบัตินั้น ผลลัพธ์ของการดำเนินการจะสรุปออกมาเป็นรายงานการเงินประจำเดือน ซึ่งมิได้มีเพียงงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น ตารางคำนวณต้นทุนหรือตารางควบคุมกำไรก็ล้วนแต่เป็นรายงานงานเงินรายเดือนที่สำคัญ

C = Check คือ ทำการวิเคราะห์ โดยประเมินผลลัพธ์จากการตรวจวัด เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อเป้าหมาย มีความชัดเจนในประเด็นที่ต้องปรับปรุง

การตรวจสอบโดยวิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์การประกอบการกับงบประมาณ หรือต้นทุนมาตรฐาน ทำให้เข้าใจหัวข้อปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปอย่างชัดเจน

A = Action คือ ลงมือแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานเดิมให้สูงขึ้น

การดำเนินมาตรการตามหัวข้อปัญหาที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขซึ่งมีความชัดเจนแล้ว พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นที่เชื่อมต่อไปยังวงจร PDCA วงจรใหม่ต่อไป โดยอาจพิจารณาแนวทางแก้ไข ดังนี้

• มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้

• ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม

• ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้

• เปลี่ยนเป้าหมายใหม่

ทั้งนี้วงจร PDCA จะต้องหมุนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อผลักดันเป้าหมายให้สูงขึ้นต่อๆไป บัญชีทางการบริหารนำวงจรนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อให้วงจรการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ทความโดย : www.th.jobsdb.com
 1163
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์