4 วิธีทางบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ

4 วิธีทางบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ


การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย


แต่ก่อนจะกล่าวถึงวิธีการบันทึกบัญชีและข้อสันนิษฐานในการบันทึกสินค้า เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามูลค่าของ "สินค้าคงเหลือ" จะไม่ได้นำไปลงบัญชี "ขาย" เพราะบัญชีขายมีไว้รับรู้ราคาที่บริษัท "ขาย" สินค้า ส่วนบัญชี "สินค้าคงเหลือ" หรือ "Inventory" มีไว้รับรู้ราคาที่บริษัท "ซื้อ" สินค้า

เมื่อรู้จักชื่อบัญชีคร่าวๆ แล้วก็ถึงเวลาของระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือซึ่งมีด้วยกัน 2 วิธีคือ แบบสิ้นงวด (Periodic Inventory System) และแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System)

สำหรับระบบการบันทึกแบบสิ้นงวดจะคำนวณมูลค่าของ "สินค้าคงเหลือ" เป็นงวดๆ ซึ่งรวมไปถึง "ต้นทุนสินค้าที่ขาย" หรือ "Cost of goods sold" (COGS) ก็เช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นช่วงปลายปีหรือปลายเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าและดุลพินิจของเราว่าต้องการดูความ เคลื่อนไหวของสินค้าในสต็อกมากแค่ไหน โดยเมื่อซื้อสินค้าเข้ามา ตัวสินค้าจะยังไม่ลงบัญชี "สินค้าคงเหลือ" แต่จะลงบัญชี "ซื้อสินค้า" หรือ "Purchase" เสียก่อน ซึ่งการลงบัญชีแบบนี้มีข้อดีเพราะจะเห็นปริมาณการซื้อในแต่ละงวดอย่างชัดเจน แต่ข้อเสียคือจะไม่เห็นความเคลื่อนไหวที่แท้จริงของสินค้าคงเหลือ เพราะจะคำนวณเมื่อสิ้นงวดเท่านั้น

สำหรับระบบการบันทึกแบบต่อเนื่อง เมื่อซื้อสินค้าเข้ามาบริษัทจะบันทึกสินค้าลงไปที่สินค้าคงเหลือได้เลยโดย ไม่ต้องรอจนถึงสิ้นงวด ทำให้เห็นจำนวนสินค้าคงเหลือได้ตลอดเวลา และรู้ได้ว่ามีสินค้าเพียงพอกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลานั้นหรือไม่

เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานสินค้าคงเหลือแล้วจึงจะสามารถทำความเข้าใจวิธีการคำนวณบัญชีสินค้าคงเหลือได้ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 วิธี ได้แก่

• วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification)

• วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in First-out; FIFO)

• วิธีเข้าหลัง ออกก่อน (Last-In Last-out; LIFO)

• วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average method)

• วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว (Moving-average method)

แต่ในปัจจุบันมาตรฐานการบัญชียอมรับเพียงสี่วิธีเท่านั้น เพราะวิธี "เข้าหลัง ออกก่อน" ซึ่งเหมาะกับบริษัทที่ขายอุปกรณ์เทคโนโลยีมีช่องโหว่ทำให้ตกแต่งบัญชีได้ ง่าย ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป แต่วิธีที่เหมาะสมกับบริษัทของเราก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าของบริษัท เองด้วย และจะมีข้อดีและข้อเสียต่างไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ทความโดย : incquity.com
 1777
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์