การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ

1.
งบแสดงฐานะการเงิน 
2.
งบกำไรขาดทุน 
3.งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ
4.
งบกระแสเงินสด 
5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหลายส่วนงานของกิจการสามารถนำงบการเงินไปใช้ได้ เช่น ฝ่ายบริหารใช้ในการบริหารงาน ฝ่ายการเงินใช้ดูสภาพคล่องของกิจการ และสิ่งที่สำคัญของบัญชีคือการใช้รูปแบบการบันทึกบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual มาดูกันเลยนะคะว่ามีรูปแบบการบันทึกบัญชียังไงบ้าง

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System : พีริออดิก อินเวนทอรี ซิสเทิม)

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ในระหว่างงวด ดังนั้นยอดคงเหลือบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอด ณ วันต้นงวด และจะไม่บันทึกต้นทุนขายในทุกครั้งที่ขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ต้องการทราบยอดคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนขายต้องทำการคำนวณ วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าในปริมาณมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ข้อดีของวิธีนี้คือ การบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลา ข้อเสียคือ ไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ทันทีที่ต้องการ

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System : เพอเพชชวล อินเวนทอรี ซิสเทิม)

        วิธีนี้จะมีบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ไว้เพื่อบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดการดำเนินงาน โดยใช้บันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย ส่งคืนและรับคืน ดังนั้นจึงทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพงหรือสินค้าจำนวนไม่มาก ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้ทรายยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา ข้อเสียคือ ต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

เปรียบเทียบการบันทึกบัญชี

periodic-and-perpetual

ดังนั้นการใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึกบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : http://www.mindphp.com

 3029
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์