ตรวจสอบสินค้าคงเหลือจากบัญชี

ตรวจสอบสินค้าคงเหลือจากบัญชี


การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายการเงินซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าวัตถุดิบ ฝ่ายบุคคลก็ต้องเสนอจำนวนเงินที่จะจ่ายเงินให้กับพนักงานเป็นค่าแรงงานทาง ตรง และเมื่อนำวัตถุดิบนั้นไปผลิตได้สินค้าแล้ว ฝ่ายอื่นๆที่ต้องเกี่ยวข้องได้แก่ ฝ่ายขายสินค้าและฝ่ายการเงินซึ่งเป็นผู้เก็บเงิน


ผู้ตรวจสอบบัญชีจะพบว่าการตรวจสอบสินค้าคงเหลือนั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะการทดสอบยอดคงเหลือสินค้าปลายงวด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานทั้งการพิสูจน์ความมีอยู่จริง และการตีมูลค่าของสินค้า ทั้งนี้ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้การตรวจสอบมีความซับซ้อนได้แก่

1. สินค้าคงเหลือถือเป็นรายการสำคัญในงบดุล และถือเป็นรายการที่มีมูลค่ามากที่สุดรายการหนึ่งในเงิน ทุนหมุนเวียนของกิจการ 

2. กิจการอาจมีที่เก็บสินค้าหลายแห่ง ทำให้การควบคุมและการตรวจนับทำได้ยาก แม้ว่าการมีสถานที่เก็บสินค้าหลายแห่งมีประโยชน์ ในเชิงการผลิต และการตลาดเพราะทำให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภค แต่การเก็บสินค้าหลายแห่งนี้ทำให้การตรวจสอบมีความยากลำบากยิ่งขึ้น 

3. ผู้ตรวจสอบบัญชีมักพบว่าหากกิจการมีสินค้าหลากหลายประเภท การตรวจสอบจะทำได้ยากขึ้น เช่น หากต้องตรวจสอบเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอบบัญชีอาจเผชิญกับปัญหาการสังเกต การตรวจนับและการวัดมูลค่า 

4. การวัดมูลค่าสินค้าหลายประเภทมีความยากลำบากเนื่องจากสินค้าอาจมีการล้าสมัย และการปันส่วนต้นทุนการผลิตให้กับสินค้านั้น มีความซับซ้อน 

5. วิธีวัดมูลค่าต้นทุนมีหลายวิธีซึ่งหากกิจการเลือกที่จะวัดมูลค่าสินค้าวิธีหนึ่ง กับบางประเภทสินค้า และใช้วิธีอื่นสำหรับประเภทสินค้าอื่น ก็สามารถกระทำได้ตามหลักการบัญชี แต่วิธีการที่ใช้ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ทความโดย : www.daosilp.com
 991
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์