5 ไฮไลต์งบการเงิน

5 ไฮไลต์งบการเงิน


การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน


       1. ยอดขาย (Sales) เป็นตัวเลขที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนให้ความสำคัญกันอยู่แล้ว เพราะยอดขายหรือรายได้จากการขายคือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ใครๆ ก็ชอบที่จะมียอดขายเยอะๆ แต่ต้องพิจารณาร่วมกับลูกหนี้การค้าด้วย หากมีลูกหนี้เยอะแสดงว่าธุรกิจเน้นการขายเชื่อ ซึ่งก็มีความเสี่ยงจากการเก็บหนี้ไม่ได้ ตรงนี้ผู้ประกอบการก็ต้องระมัดระวังอย่าให้ตัวเลขยอดขายนั้นหลอกตา

       2. กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น (Gross Profit) เป็นตัวเลขที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนเช่นกัน กำไรหรือขาดทุนขั้นต้นก็คือยอดขายหักด้วยต้นทุนสินค้าเพื่อขาย (Cost of Goods Sold) ซึ่งตัวเลขนี้ยังสะท้อนถึงลักษณะความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีกำไรจากการดำเนินงานที่หักค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการและกำไรสุทธิที่สามารถเจาะลึกถึงภาระการใช้สินเชื่อและผลตอบแทนของเจ้าของธุรกิจ

       3. ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) เป็นตัวเลขที่อยู่ในงบดุลที่อยากให้ผู้ประกอบการพิจารณา เนื่องจากลูกหนี้การค้าจะเกิดขึ้นมาได้นั้นแสดงว่าคุณต้องขายสินค้าได้ การมีลูกหนี้การค้ามาก ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เนื่องจากถ้าลูกหนี้ใช้เวลานานกว่าจะจ่ายเงินแปลว่าเงินในธุรกิจของคุณก็อาจจะติดขัดได้หรืออาจทำให้ภาระดอกเบี้ยสูงจนไม่เหลือกำไร   ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญกับระยะเวลาการจ่ายหนี้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย

       4. เจ้าหนี้การค้า (Account Payable) เป็นตัวเลขอีกตัวที่อยู่ในงบดุล ธุรกิจทั่วไปก็มีเจ้าหนี้การค้า ซึ่งบางคนจะเข้าใจว่าการมีเจ้าหนี้มากๆ นั้นอาจไม่ดี แต่ถ้าธุรกิจสามารถต่อรองระยะเวลาการจ่ายเงินและบริหารจัดการสภาพคล่องให้ดี ตรงนี้จะถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะคุณเอาสินค้าเขามาขายแต่ยังไม่ต้องจ่ายเงิน ข้อควรระวังก็คือ ต้องบริหารระยะเวลาจ่ายคืนเจ้าหนี้ให้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ลูกหนี้จะจ่ายเงินให้เราและมีวงเงินกู้หรือโอดีเพียงพอในการใช้งานในกรณีที่ยังไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้การค้า แต่หากธุรกิจของคุณขายเงินสดตรงนี้คุณมีแต่ได้กับได้ เพียงแค่ต้องอย่าเอาเงินไปใช้ผิดประเภทแล้วหมุนกลับมาชำระหนี้ไม่ทัน

       5. สินค้าในสต็อก (Inventory) เป็นตัวเลขที่อยู่ในงบดุลเช่นกัน การสต็อกสินค้าเอาไว้มากๆ นั้นไม่ดีกับธุรกิจ เพราะคุณเสียเงินหรือต้องกู้เงินมาจ่ายเพื่อให้ได้สินค้ามาเก็บไว้ เท่ากับเงินส่วนนั้นนอนจมเฉยๆ อยู่ในโกดังไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยไม่รู้ว่าจะขายหมดเมื่อไหร่ อีกทั้งยังต้องรับความเสี่ยงว่าสินค้าจะขายได้หรือไม่ อาจจะเพราะสินค้าตกรุ่น สินค้าหมดอายุ หรือแม้แต่เหตุการณ์ไฟไหม้ น้ำท่วม ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้สินค้าเหล่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำก็คือ การพยากรณ์ยอดขายของธุรกิจตัวเองให้ได้ เพื่อนำมาวางแผนการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม คือมีสินค้าขายเพียงพอไม่ขาดไม่เกิน และไม่สำรองเอาไว้มากเกินไป 

       ตัวเลขมากมายที่อยู่ในงบการเงินนั้นล้วนมีความหมายในตัวของมันเอง บางตัวมีมากๆ เป็นเรื่องดี แต่บางตัวก็ไม่ใช่ ผู้ประกอบการจึงต้องระวังอย่าติดกับดักของตัวเลขเหล่านี้จนตัดสินใจบริหารผิดพลาด กระทั่งส่งผลกระทบร้ายแรงกับธุรกิจ ดังนั้นถ้าอยากให้ธุรกิจของคุณ “สตรอง” ก็ควรอ่านงบการเงินให้เป็น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


แหล่งที่มา : Link

 598
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์