8 เช็คลิสต์ขั้นตอน การปิดบัญชีที่นักบัญชีทุกคนควรทำ

8 เช็คลิสต์ขั้นตอน การปิดบัญชีที่นักบัญชีทุกคนควรทำ


1.กำหนดวันปิดงวดบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่

โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจในประเทศไทยมักจะถือวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันปิดงวดบัญชี แต่ก็จะมีบางธุรกิจที่ต้องการปิดบัญชีในเดือนอื่นๆ ซึ่งก็สามารถทำได้ โดยต้องตัดสินใจในปีแรกที่เปิดทำการว่าจะปิดงวดบัญชีเมื่อใด และต้องระมัดระวังว่างวดบัญชีปีแรกต้องปิดภายใน 12 เดือน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี จากนั้นยึดวันเดิมในการปิดงวดบัญชีสำหรับปีถัดๆ ไป เช่น เปิดบริษัทเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ประกอบการจะเลือกปิดบัญชีวันที่ 31 มกราคม 2563 ก็ได้ และหลังจากนั้นจะยึดวันที่ 31 มกราคม ของทุกปีเป็นวันปิดงวดบัญชี เป็นต้น

2. กระทบยอดลูกหนี้ และส่งรายงานยืนยันยอดให้ลูกหนี้

การกระทบยอดลูกหนี้การค้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ทำบัญชีมั่นใจว่ารายการที่แสดงในรายงานลูกหนี้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริง และที่สำคัญการส่งยืนยันยอดลูกหนี้คงเหลือนั้น ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ณ วันสิ้นงวดเราได้บันทึกรายการขายและการรับเงินอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

3. กระทบยอดเจ้าหนี้

การกระทบยอดเจ้าหนี้นั้น วิธีการคล้ายๆ กับฝั่งลูกหนี้ แต่เราจะโฟกัสในเรื่องของหนี้สินคงค้างกับเจ้าหนี้ ณ วันที่สิ้นงวด เพื่อที่จะตรวจสอบความถูกต้องและวางแผนจ่ายชำระเงินให้ตรงเวลา

4. ปรับปรุงสินค้าคงเหลือ

สำหรับธุรกิจที่ไม่ใช่บริการมักจะมีรายการสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด ผู้ทำบัญชีต้องเตือนให้ผู้ประกอบการตรวจนับสต็อกสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด เพื่อความถูกต้องของการปิดบัญชี

5. กระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร

การกระทบยอดเงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างน้อยการกระทบยอดเคลื่อนไหวเงินสดควรทำทุกๆ เดือน เพื่อที่ตอนปลายปีจะได้ลดภาระงานลง แต่อย่างไรก็ตามตอนปลายปีก็ควรตรวจสอบการกระทบยอดอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจ

6. กระทบยอดรายการอื่นๆ และตรวจดูการจัดประเภทราย

รายการอื่นๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น ผู้ทำบัญชีควรต้องตรวจสอบความถูกต้องของยอดคงเหลือปลายปีอีกครั้ง กับหลักฐานอื่นๆ ที่มี เช่น

  • เปรียบเทียบยอดคงเหลือในบัญชีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า กับ Excel ตารางคำนวณค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าว่าระหว่างปีได้บันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละงวดถูกต้องไหม
  • เปรียบเทียบยอดสินทรัพย์ถาวรกับ Fixed Assets Register ว่ามีการรับรู้และบันทึกค่าเสื่อมราคาระหว่างปีถูกต้องหรือไม่

7. กระทบยอด Vat และคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากผู้ทำบัญชีดูแลผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) อย่าลืมกระทบยอดรายได้ทั้งปีกับ ภ.พ.30 ให้เรียบร้อย

8. สร้างงบการเงิน

  • งบการเงิน เป็นบัญชีที่นักบัญชีต้องทำปีละ 2 ครั้ง เพื่อนำส่งภาษีครึ่งปี และภาษีเงินได้แบบเต็มปี
  • การทำงบการเงินมีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจที่จะต้องทำให้ทันเวลาต่อการตัดสินใจ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีข้อมูลทางการเงินที่ช่วยวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
  • นักบัญชีสามารถใช้โปรแกรมบัญชีช่วยปิดงบและจัดการและรายการ Daily Operation ได้โดยอัตโนมัติ หากมีการทำเอกสารผ่านระบบอย่างสม่ำเสมอ




ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com   หรือ Click  
 1111
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ในปัจจุบัน การบริหารจัดการทางด้านต่อการจัดการการเงินและด้านทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจ และในยุคดิจิตอลนี้ ก็มี software มากมาย ที่เป็นตัวเลือกให้ธุรกิจได้ตัดสินใจเลือกใช้ เพราะแต่ละโปรแกรมก็มี Features แตกต่างกันออกไป หรือบางโปรแกรมก็สามารถทำให้ทั้งสองโปรแกรมนี้ทำงานร่วมกันได้ แล้วจะเลือก โปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรมบัญชี อย่างไรให้เหมาะสมธุรกิจของตัวคุณเองล่ะ?  เรามาดูแนวทางกันดีกว่าค่ะ
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
ค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภทจะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้เสียที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบื้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกันดังนี้
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์