13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

13 สิ่งต้องมีในบัญชี ห้ามขาด ห้ามหาย

3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้

ปกด้านหน้าของสมุดบัญชีหรือแผ่นหน้าของบัญชี ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือชื่อทางการค้า
  2. ชนิดของบัญชี
  3. ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิด โดยต้องเรียงลำดับเล่มต่อเนื่องกัน

บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการต่อไปนี้

  1. ชื่อบัญชี วัน เดือน ปี เลขที่ของเอกสารประกอบการลงบัญชีและจำนวนเงิน
  2. หน้าบัญชี
  3. รายการในบัญชี

นอกจากต้องมีรายการตามที่กำหนดในข้อ 4-6 แล้ว บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และบัญชีสินค้า ต้องมีรายการเพิ่มเติมต่อไปนี้ด้วย โดยแยกตามบัญชีได้ดังนี้

บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไป ของเงินสด เงินในธนาคาร

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือบัญชีรายวันแล้ว จะลงรายการรับ หรือจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้า บริการที่ซื้อขาย

หากมีอยู่ในเอกสารประกอบการลงบัญชี จะลงรายการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการนั้น เป็นยอดรวมก็ได้

บัญชีรายวันทั่วไป (บัญชีรายวัน) เพิ่มเติม ดังนี้

  1. คำอธิบายรายการบัญชี

บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. รายละเอียดที่มาของรายได้หรือค่าใช้จ่าย

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (บัญชีแยกประเภทเพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ รายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้

โดยต้องอ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิงด้วย

บัญชีสินค้า เพิ่มเติม ดังนี้

  1. ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปของสินค้า และจำนวนสินค้านั้น 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : www.dharmniti.co.th

 655
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์