ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร


ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า

          1. กรณีลูกค้าเลยกำหนดจ่าย: นัดเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
          2. เจรจาเพื่อหาข้อสรุป เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร และมีเงื่อนไข ถ้าไม่ทำตามสัญญา เช่น คิดค่าปรับ คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
          3. ถ้าลูกค้าประสบปัญหาเช่นงานไม่มีเพิ่มเข้ามาหรืองานเก่าเก็บเงินไม่ได้ อาจหาทางอื่นเพื่อเก็บหลักประกันเพิ่มเติมเช่นขอโฉนดที่ดินมาเก็บไว้เพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงิน
          4. ถ้าลูกค้าไม่มีหลักประกัน อาจให้ลูกค้าทยอยจ่าย อาจแบ่งเป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือตามที่ลูกค้าคาดว่าจะเก็บได้
          5. ถ้าลูกค้ายังผิดนัดชำระ ให้ทำหนังสือแจ้ง เรื่องหนี้ และกำหนดมาตรการหากลูกค้ายังผิดนัดชำระอีก เช่น ทำบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหา, ทำเรื่องส่งทนายฟ้องศาล

มาตรการป้องกันในอนาคต

          1. จัดทำบัญชีลูกหนี้ และมีการประเมินคุณภาพหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การแยกอายุหนี้ 30 วัน, 60 วัน, หรือมากกว่า 90 วัน และกำหนดมาตรการกับลูกค้าแต่ละอายุ เช่นการลดส่วนลดที่เคยให้ ลดวงเงินเครดิต หรือเพิ่มดอกเบี้ยเป็นต้น
          2. มีการกำหนดวงเงินลูกค้าแต่ละรายและกำหนดอายุหนี้ให้สั้นลง หากลูกค้าผิดนัด โดยไม่มีเหตุผล
          3. มีการกำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่มีวงเงินเครดิตสูง ๆ เช่น 1 ล้านขึ้นไปต้องวางตั๋วอาวัลไว้ 1 ล้านบาทเป็นต้น
          4. ขายเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยไม่ปล่อยเครดิตง่ายจนเกินไป ต้องซื้อขายกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี มีการซื้อต่อเนื่อง
          5. ถ้าลูกค้ารายไหนจ่ายเงินตรงตามเวลาและกำหนด ก็จะมีส่วนลดเพิ่มให้เป็นพิเศษหรือจ่ายเป็นรางวัลปลายปีให้ลูกค้ารายนั้น ๆ
          6. พยายามไม่ให้ลูกค้ามีวงเงินหนี้คงค้างเป็นจำนวนมากเกินกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.accountancy.in.th

 1294
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์