ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม

ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม


มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายใน

1.สินค้าและวัตถุดิบ

• ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เหมาะสม แบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ของสินค้า ออกเป็นแต่ละประเภทของชนิดของสินค้านั้น ๆ

• ควรมีการตรวจนับเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่จริง และจำนวนถูกต้อง อีกทั้งสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

• ควรใช้โปรแกรมเชื่อมโยงกับระบบบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของระบบและการเคลื่อนไหวของรายการ

2.เงินเดือนและค่าแรง

• ควรจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคาร ต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน ข้อมูลพนักงานตรงกับระบบประกันสังคม

3.การเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

• สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เช่น ควบคุมสินค้า ระบบซื้อขาย ระบบทรัพย์สิน ระบบเงินเดือน เพื่อแสดงข้อมูบที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4.เงินกู้ยืมจากกรรมการ

• มีหลักฐานสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้

5.การจัดทำบัญชีรับจ่าย

• การรับชำระค่าสินค้าตรงกับข้อมูลจากธนาคาร การรับจ่ายเงินตรงชื่อบัญชีธนาคารและเอกสารการค้าตรงกัน

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายนอก

1. ข้อมูลธุรกิจการซื้อขายของธุรกิจจากผู้ผลิต จนถึงผู้จำหน่าย สามารถยันตรงกันได้

2. ข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ข้อมูลการซื้อขายทรัพย์สิน ข้อมูลพนักงานตรงกัน

3. ข้อมูลธุรกรรมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบตรงกับรายได้ที่ยื่น

4. ข้อมูลการรับจ่ายเงินจากสถาบันการเงินตรงกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล RISK BASED AUDIT

1.  รวบรวมข้อมูลธุรกิจประเมิน ความเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายใน

2. ประเมินธุรกิจจากความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงิน

ผลจากการมีระบบการเงินบัญชีที่ดี

1. มีโอกาสได้คืนภาษีเร็ว เนื่องจากมีระบบบัญชีที่ดี

2. โอกาสถูกตรวจสอบน้อย

3. ลดข้อผิดพลาด ลดการทุจริตในองค์กร

หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี

1. ได้รับคืนภาษีช้าเนื่องจากอาจถูกตรวจสอบ

2. มีโอกาสถูกตรวจสอบเพิ่มขึ้น

3. เจ้าหน้าที่ ติดตามอย่างใกล้ชิด

4. ถ้าถูกประเมินภาษีย้อนหลัง มีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสูง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 585
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์