พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย


ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาซื้อ-ขายออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย หันมาทำธุรกิจออนไลน์ หรือขายของออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์

โดยมีเงื่อนไขของกฎหมาย E-payment มีดังนี้

1. รับหรือฝากเงินเกินกว่า 400 ครั้ง และ มีจำนวนรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (เฉพาะขารับเท่านั้น)

2. รับหรือฝากเกินกว่า 3,000 ครั้ง

ส่งข้อมูลธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะภายในมีนาคมของปีถัดไป (เฉพาะขารับเท่านั้น)

*หากเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ธนาคารจะนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรทำการตรวจสอบค่ะ


กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างเมื่อธนาคารหรือตัวแทนส่งข้อมูลไป

• เลขบัตรประจำตัวประชาชน

• ชื่อ-สกุล

• เลขบัญชีเงินฝาก

• จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน

• ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน

เมื่อเข้าเกณฑ์แล้วจะถูกตรวจสอบทุกรายหรือไม่

•กรมสรรพากรจะไม่เรียกตรวจทุกราย เพราะกรมสรรพากรจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง

เจ้าของธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

1.จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย อย่างถูกต้อง

2.เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

3.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอย่างครบถ้วนและตรงเวลาที่กฎหมายกำหนด

เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกท่านก็หมดห่วงเรื่องปัญหา กฎหมาย E-payment แล้วนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 489
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์