บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร

บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร


หากได้ยินคำว่า “บัญชี” หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี มักจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการทำงานที่เกี่ยวกับเงินและตัวเลข แต่หากได้สัมผัสและรู้ถึงความจริงของนักบัญชี จะเข้าใจได้ว่า นักบัญชีนั้นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถด้านการคิดคำนวณ ไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อบันทึกรายการนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

ฉะนั้น ทักษะการคำนวณนั้นจึงเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ของความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพนี้เท่านั้น แต่ความรู้ในด้านการคิดวิเคราะห์ต่างหากที่เป็นจุดเด่น เป็นความรู้ความสามารถที่ควรมีในตัวนักบัญชี 

รวมถึงนักบัญชีจะต้องมีความรู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้รวมถึงการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง 

1. จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เนื่องจากนักบัญชีจะเป็นด่านแรกที่ได้รับข้อมูล และ ด่านสุดท้ายที่จะรายงานข้อมูลสู่สาธารณชน ฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกไป จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ จึงส่งผลให้หลายๆ คนที่ทำอาชีพนี้มีบุคคลิกที่เป็นคนละเอียด หรือ หากบุคคลภายนอกได้ร่วมงานด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นักบัญชีเรื่องมากบ้าง จุกจิกบ้าง ด้วยเพราะงานบัญชีเกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก

2. เป็นนักวางแผน
เนื่องจากต้องมีกระบวนการรายงานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น งบการเงิน ที่จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร หรือตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น 

3. เป็นคนขยัน อดทน
ที่จะต้องรับมือเป็นฝ่ายสุดท้าย ก่อนส่งงานออกให้ทันเวลากำหนดมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ลุล่วง ด้วยดี ในทุกๆ งาน

4. ความซื่อสัตย์
นักบัญชีทำงานภายใต้จรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉะนั้น การรายงานต่างๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง แม่นยำและเป็นความจริงเสมอ

5. น้ำไม่เต็มแก้ว
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการออกประกาศฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

6. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แยกแยะประเด็นต่างๆ และนำความรู้ภาคทฤษฎีมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ

7. บุคคลิก เรียบร้อย ดูดี มีภูมิฐาน
เนื่องจาก งานในวิชาชีพนี้ ส่วนใหญ่ต้องทำงานในบริษัท และอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อถือ ต่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านักบัญชีของแต่ละองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ช่วยสนับสนุนงานของทุกๆฝ่าย และทำหน้าที่จัดทำงบการเงินและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เพื่อให้รายงานงบการเงิน ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างที่สุด

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : คุณกชพร สุวรรณตัด บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 627
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งจากผู้ประกอบการ และนักบัญชีเองนั้นมีมากมายหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เราได้สำรวจและรวบรวม 5 คำถามยอดฮิต พร้อมคำตอบมาให้เพื่อนๆ กันค่ะ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ว่านั้น จะมีเรื่องอะไรบ้างลองไปดูกันค่ะ
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
ในอดีตที่ผ่านมาความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังมีไม่มาก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์การต่าง ๆ
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์