ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร

ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร



เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน

ทั้งนี้สำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ อาจมีคำถามสำหรับการคำนวณภาษีครึ่งปีเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิ สำหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีนั้นมีความแตกต่างจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีรอบสิ้นปี เนื่องจากกำไรสุทธิที่นำมาคำนวณภาษีรอบครึ่งปีไม่ใช่กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงแต่เป็นการ “ประมาณการกำไรสุทธิ” ของกิจการโดยกิจการจะต้องประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบครึ่งปีโดยคำนวณจากครึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี

ตรงนี้ SME มือใหม่อาจจะสับสนกันว่าจะประเมินกำไรเท่าไหร่ดี ขอยกตัวอย่างดังนี้  เช่น บริษัท A ประมาณการว่าปีนี้ทั้งปีจะมีกำไรสุทธิ 4,000,000 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีของ บริษัท A จะคำนวณได้จาก ครึ่งหนึ่งของ ประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี คือ 2,000,000 บาท คูณกับอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด คือ ร้อยละ 20 ดังนั้น บริษัท A จึงต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบ ครึ่งปีเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท(ยังไม่รวมการลดหย่อนอื่นๆ)

เกิดอะไรขึ้นหากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำเกินไป

ในกรณีนี้หากเจ้าของธุรกิจประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาดไปตอนรอบครึ่งปี  แต่ยังไม่ต้องตกใจไป เพราะตรงนี้กำไรสุทธิอาจคลาดเคลื่อนไปอย่างมากจากที่ประมาณไว้ ด้วยเหตุสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้มีการอนุโลมให้ บริษัทที่ได้ยื่นเสียภาษีรอบครึ่งปี ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่าการประมาณการดังกล่าวมีเหตุอันสมควรไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ยกตัวอย่างกรณีนี้ เช่น บริษัท A ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้ จำนวน 4,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ จำนวน 6,000,000 บาท บริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ต่ำกว่ากำไร สุทธิจริงที่ได้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 2,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าบริษัทได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อย ละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ดังนั้นบริษัท A จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ได้ชำระไว้ขาดไป ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

  1. 1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 6,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิของ บริษัท = 3,000,000 บาท
  2. คำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่ คำนวณได้ = 3,000,000x20% = 600,000 บาท
  3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (600,000 – 400,000) = 200,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป = (200,000x 20%) คือ = 40,000 บาท

อย่างไรก็ตาม หากรอบบัญชีก่อนหน้า บริษัท A  มีกำไรสุทธิ 3,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้คือ 2,000,000 บาท ก็จะมากกว่ากึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิในรอบบัญชีก่อนหน้า ดังนั้นบริษัท A จึงไม่ต้องเสียค่าปรับแต่อย่างใด  

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



อ้างอิง : กรมสรรพากร 

 514
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์