Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี

Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี


Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมีดังนี้

1.การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นเมื่อต้องทำงานเป็นทีม

2.การสื่อสาร (Communication Skills)
เป็นทักษะสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบของการพูดคุย เจรจาต่อรอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร

3.การแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skills)
นักบัญชีต้องพร้อมรับมือกับปัญหาทุกเวลา และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง เมื่อแก้ปัญหาแล้วต้องรู้วิธีรับมือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก

4.ความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)
นักบัญชีควรมีทักษะความเป็นผู้นำติดตัวไว้ เพื่อเสริมความกล้าคิดและการนำเสนองาน และเมื่องานเกิดปัญหาก็สามารถพร้อมให้คำปรึกษาได้เสมอ

5.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills)
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้และปิดกั้นไอเดียความคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่

6.แรงจูงใจ (Motivation Skills)
สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงบรรยากาศการทำงานร่วมกันเป็นทีม

7.การปรับตัว (Flexibility and Adaptability Skills)
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานตามแผนที่ตายตัวนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด นักบัญชีจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในการทำงาน

8.ความรับผิดชอบ (Responsibility Skills)
การมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ของตัวเอง ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มที่ จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

9.การตัดสินใจ (Decision-Making Skills)
นักบัญชีหากถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจในเรื่องนั่นไปแล้ว

10.การบริหารเวลา (Time Management)
การจัดลำดับความสำคัญในการทำงานแต่ละวัน จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำเสร็จตามกำหนด แต่ก็อย่าลืมที่จะจัดสรรเวลาในการพักผ่อนด้วย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!




ขอบคุณที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ
 639
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน
ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์