มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)

มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)


ใบสั่งขาย (Sale Order)

หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป

ใบสั่งขายจัดทําขึ้นเพื่ออะไร

การจัดทำใบสั่งขายเกิดขึ้นเมื่อทางบริษัทผู้ขายได้ทำเสนอราคาไปให้ลูกค้าโดยการเปิดใบเสนอราคา (ใบ Quotation) เมื่อลูกค้าสนใจในสินค้า จึงได้ได้จัดทำใบสั่งซื้อ (ใบ Purchase Order) ให้กับทางบริษัท อาจมีการลงลายเซ็นเพื่อความแน่นอน

บริษัทที่ขายสินค้าอาจต้องการความแน่นอน จะได้ทำการ เปิดใบสั่งขาย (ใบ Sale Order) ที่จัดทำโดย บริษัทของตัวเอง เพื่อส่งให้ลูกค้ายืนยัน และเมื่อลูกค้าได้รับใบสั่งขาย ได้ทำการลงลายเซ็นแล้วส่งกลับมายังบริษัทผู้ขาย ฝ่ายประสานงานขายก็จะนำเอกสารใบสั่งขายไปเปิดเป็นใบกำกับภาษี(Invoice) ซึ่งสามารถนำไปเปิด ได้ 2 รูปแบบ คือ 1.จ่ายชำระบางส่วน 2.จ่ายชำระแบบเต็มจำนวน เป็นต้น

ประโยชน์ของใบสั่งขาย

  1. เพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อสินค้าที่แน่นอน
  2. เพื่อลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้า
  3. ทบทวนรายละเอียดของสินค้าที่ได้สั่งซื้อในใบเสนอราคา (ใบ Purchase Order)
  4. บ่งบอกถึงความต้องการในสินค้าที่บริษัทเรามี
  5. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงเอกสารกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายได้ เช่น ใบสั่งซื้อ (ใบ Purchase Order) ใบกับกับภาษี (Invoice) เป็นต้น

คุณลักษณะของใบสั่งขาย

  1. สามารถระบุวันที่จัดส่งสินค้าในสินค้าแต่ละรายการเพื่อนำไปจัดทำแผนการจัดส่งสินค้าได้
  2. สามารถอ้างอิงใบสั่งขายไปบันทึกเอกสาร Invoice ได้ และใบส่งสินค้า
  3. สามารถระบุสัญญาซื้อขายในใบสั่งขายได้ เพื่อให้ระบบทำการปรับปรุงข้อมูล Released Order ในสัญญาซื้อขาย
  4. สามารถตั้งค่าให้ระบบบันทึก Invoice โดยอัตโนมัติเมื่อมีการบันทึกสั่งขายได้
  5. ในกรณีที่สั่งซื้อสินค้าที่ไม่มีใน Stock หรือในกรณีที่สินค้าใน Stock ไม่พอขาย

เยี่ยมชม >>> ตัวอย่างแบบฟอร์มใบสั่งขาย (Sale Order) ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed

จากตัวอย่างของแบบฟอร์มใบสั่งขาย (Sale Order) โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed จะเห็นได้ว่ารูปแบบฟอร์มจะแสดงรายละเอียดทั้งข้อมูลผู้ขาย, ข้อมูลผู้ซื้อ, เลขที่เอกสาร, วันที่เอกสาร, เงื่อนไขการสั่งขาย, รายละเอียดรายการสินค้า, จำนวนเงินรวม, ภาษีขาย, ลายเซ็น และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน โดยมีคุณสมบัติที่สามารถอ้างอิงเอกสารจากหน้าจอใบสั่งจอง, รองรับส่วนลดการค้า ได้ทั้ง 2 วิธี คือ ส่วนลดตามสินค้า และ ส่วนลดท้ายบิล นอกจากนี้ยัง สามารถบันทึกส่วนลดได้ 2 รูปแบบ คือ จำนวนเงิน (บาท) และ เปอร์เซ็นต์ (%), สามารถบันทึกใบสั่งขายระบุแผนก และ Job ได้ และมีรายงานรองรับ เป็นต้น


ที่มา : 
www.prosofterp.com, www.pangpond.com

 4053
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์