การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร


การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT

เมื่อไรกิจการต้องมี การเฉลี่ยภาษีซื้อ

เมื่อกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบธุรกิจ VAT และ NON VAT  ไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดจึงต้อง “เฉลี่ยภาษีซื้อ” ตามสัดส่วนของธุรกิจที่นำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

การเฉลี่ยภาษีซื้อ มีวิธีใดบ้าง

1.การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามส่วนของรายได้ โดยการประมาณการสัดส่วนของรายได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งปี แล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่ง สำนักงาน หรือวัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น และภาษีซื้อค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา หรือค่าซ่อมแซม เป็นต้น

2.การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามพื้นที่การใช้อาคาร โดยการประมาณการสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารแล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการ VAT และ NON VAT เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 วิธีข้างต้นเป็นการประมาณการสัดส่วนเพื่อ การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสที่สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงจะแตกต่างจากที่ประมาณการ ซึ่งส่งผลให้กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อและอาจทำให้กิจการต้องเสียภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และมักจะสร้างปัญหาในทางปฏิบัติต่อกิจการอยู่เสมอ เนื่องจากหลักเกณฑ์ใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน กิจการจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะอาจจะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ อีกประการหนึ่ง หากกิจการเกิดปัญหาในทางปฏิบัติจนหาทางออกไม่ได้ เจ้าหน้าที่สรรพากรในพื้นที่ที่กิจการตั้งอยู่น่าจะให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแก่กิจการได้เป็นอย่างดี 

รายได้ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ต้องนำมารวมใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ

(ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร –– รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

(ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน – รายได้เงินกู้ยืมบริษัทในเครือเดียวกัน

(ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ – รายได้กองทุนเงินกู้ยืมสวัสดิการ

(ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร”



ที่มา : กรมสรรพากร/www.beeaccountant.com
 556
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์