ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร?

ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  

ตรายางบริษัท สำคัญอย่างไร? 

ตรายางบริษัท มีส่วนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำสัญญา ทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ ทั้งยังมีควาเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ดีกว่าการใช้ลายมือชื่ออีกด้วย 

หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัท

การทำตรายางบริษัทมีหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้  

  1. ตรายางบริษัทต้องมีโลโก้บริษัท แต่อาจจะมีหรือไม่มีชื่อบริษัทก็ได้
  2. ในกรณีที่ตรายางมีชื่อบริษัท สามารถใช้ได้ทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ *แต่ต้องเป็นชื่อที่ตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียนบริษัท 
  3. ตรายางบริษัทสำหรับนิติบุคคล หากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีการระบุประเภทของนิติบุคคลด้วย เช่น Company Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Co.,Ltd และ Corporation Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Corp.,Ltd ส่วนภาษาไทยใช้คำว่า บริษัท…จำกัด (แบบเต็ม)
  4. ตรายางบริษัทสำหรับห้างหุ้นส่วน หากใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องระบุว่าเป็น Limited Partnership ส่วนภาษาไทยให้ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วน…จำกัด
  5. หมึกสำหรับใช้กับตรายางบริษัทไม่ควรเป็นสีดำ เพราะจะทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเอกสารฉบับจริง หรือเป็นสำเนา 
  6. ตรายางบริษัท ต้องไม่มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ดังนี้
  • เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์, พระบรมราชาภิไธย, พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสี หรือสมเด็จพระยุพราช
  • พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
  • พระมหามงกุฎ, มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
  • ฉัตรต่างๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ, ตราแผ่นดิน, ตราราชการ, ตราครุฑพ่าห์ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ 
  • พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ (ลัญจกร หมายถึง ตราประทับ)
  • ชื่อ หรือเครื่องหมายกาชาด, เครื่องหมายราชการ และสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เช่น ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ ศาลาไทย

สรุปแล้ว ‘ตรายางบริษัท’ ใช้เพื่อเป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ตรายางบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ มีความเป็นสากล และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งการทำตรายางสามารถสั่งผลิตได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางกฎหมาย หากต้องการทำตรายางบริษัท ก็อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และรู้หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัทเป็นอย่างดี 



ขอบคุณที่มา : www.ofm.co.th

 437
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์