4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง

4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง


การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง

สำหรับธุรกิจ SME ทั่วไปการจ้างนักบัญชีเข้ามาช่วยทำบัญชีอาจเป็นการสร้างภาระด้านการเงินให้กับธุรกิจของตัวเองพอสมควร ดังนั้นทางออกของธุรกิจ SME ก็คือการใช้งานโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำการบันทึกบัญชีเบื้องต้นของกิจการที่จะทำให้คุณทราบถึงผลกำไร ขาดทุน การเข้าออกของเงิน หากคุณต้องการจะทำบัญชีด้วยตนเองผ่านโปรแกรมบัญชี คุณจะต้องจำไว้ว่า 4 รายการบัญชีต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เพราะคุณจะต้องระมัดระวัง ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก และมาตรฐานการทำบัญชี ดังนี้

1.รายการภาษีรายเดือน การทำธุรกิจโดยเฉพาะในรูปแบบของนิติบุคคล และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นจะต้องทำรายงานเกี่ยวกับภาษี แล้วนำไปยื่นแบบภาษีของแต่ละประเภท เช่น ภ.พ. 30, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.1 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนและค่าจ้าง และประกันสังคม

2.ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบบแสดงภาษีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครึ่งปี ใช้สำหรับคนที่เปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยคิดจากผลกำไรสุทธิ และทำการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการประเมินจากกำไรสุทธิ

3.ภ.ง.ด.50 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี แบบแสดงภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประจำปี ใช้สำหรับคนที่ทำการเปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อนำไปเสียภาษีเงินได้ โดยคิดจากการนำรายได้หักรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ในแต่ละรอบเวลาบัญชีซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิที่กฎหมายกำหนด

4.รายงานงบการเงิน 1 ปี การจัดทำงบการเงินสำหรับ 1 ปีถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับมือใหม่อยู่ไม่น้อย เพราะการทำงานในส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการทำบัญชี และภาษีอยู่พอสมควร ถึงจะทำงานในส่วนนี้ให้ออกมาถูกต้องได้
 353
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์