จัดงานปีใหม่ เสียภาษีอย่างไร?

จัดงานปีใหม่ เสียภาษีอย่างไร?

เทศกาลปีใหม่ที่ผ่านไปนั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บริษัทห้างร้านหลายแห่ง และถือเป็นส่วนใหญ่ที่ต่างก็มีการจัดงานสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานลูกจ้าง มีทั้งการจัดเลี้ยงอาหาร และจับรางวัล แจกของขวัญซึ่งก็เป็นปกติทั่วไปที่ต้องมีคนโชคดีมากที่ได้รับรางวัลใหญ่และก็ต้องมีคนโชคดีน้อยที่ก็จะได้รับรางวัลน้อยกลับบ้านต่าง ๆ กันไป ในที่นี้มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมากล่าวถึงกับในเรื่องของการแจกของขวัญให้แก่พนักงานลูกจ้างว่า สำหรับการจัดงานปีใหม่ให้แก่พนักงาน ในกรณีที่นายจ้างได้เขียนระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานระบุไว้แล้วนั้นจะมีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบันทึกบัญชีให้สามารถนำส่งภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วนต่อไป ดังนี้

กรณีงานเลี้ยง

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวไม่ได้ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง เป็นรายจ่ายส่วนรวม และได้มีการระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้องานเลี้ยงเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแก่กิจการ แต่เป็นภาษีซื้อประเภทสวัสดิการโดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานคนใดคนหนึ่งจึงย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
  3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อย่างไรก็ตาม หากของขวัญจับสลากในงานเลี้ยงให้แก่พนักงานทุกคนในลักษณะสวัสดิการ โดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานคนใดคนหนึ่ง ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับการเลี้ยงพนักงาน จึงถือว่าเป็นประเภทสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

  • ภาษีขาย การมอบของขวัญจากการจับสลากถือเป็นสวัสดิการของพนักงานดังกล่าวนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษี


กรณีจับสลาก

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวไม่ได้ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง เป็นรายจ่ายส่วนรวม และได้มีการระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีซื้อ ที่เกิดจากค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ จึงต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การที่พนักงานได้รับรางวัลจากการจับสลากหรือชิงรางวัลในงานเลี้ยงปีใหม่ ไม่ว่าจะได้รับทุกคนหรือเฉพาะบางคนเมื่อพนักงานจับรางวัลได้ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หลังจากพนักงานได้รับรางวัลแล้ว บริษัทมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพนักงาน ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ขอบคุณที่มา :อ้างอิง: https://www.53ac.com
 55
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์