sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การบัญชีของกิจการขนาดเล็ก
การบัญชีของกิจการขนาดเล็ก
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การบัญชีของกิจการขนาดเล็ก
การบัญชีของกิจการขนาดเล็ก
ย้อนกลับ
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
กิจการขนาดเล็กส่วนใหญ่จึงไม่มีแผนกบัญชี เพราะต้องเน้นงานด้านการขายหรือบริการซึ่งเป็นงานหน้าร้านเป็นส่วนใหญ่ งานบัญชี (หลังร้าน) จึงอาจขาดการดูแลเอาใจใส่ และว่าจ้างสำนักงานบัญชีให้นำเอกสารไปปิดบัญชีแบบตามบุญตามกรรม
หากโชคดีเจอสำนักงานบัญชีที่รับผิดชอบ ช่วยนำส่งภาษีให้ในแต่ละเดือน ปิดบัญชีให้ปีละครั้ง ก็ยังถือว่าครบถ้วนตามข้อกำหนดของกฎหมายที่ต้องนำส่งงบการเงินประจำปี
คำถามจึงอยู่ที่ว่า การปิดบัญชีปีละครั้งนั้นพอสมพอควรสำหรับกิจการของเราหรือไม่ หากคำตอบคือ เพียงพอเหมาะสมสำหรับกิจกรรมและขนาดของกิจการแล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากกิจการมีโอกาสทางธุรกิจที่ดี และมีแนวโน้มจะขยายตัวแล้ว การทำอะไรเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นต่ำของกฎหมายอาจทำให้เราพลาดโอกาสขยับขยายหรือพัฒนาธุรกิจให้เติบใหญ่และมีความพร้อมรองรับ “กระแสการเปลี่ยนแปลง” ของโลกปัจจุบันซึ่งมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบรุนแรงถึงขั้นต่อ “ความอยู่รอด” ของกิจการเลยทีเดียว
กิจการที่ผ่านช่วงเวลาล้มลุกคลุกคลานมาแล้ว มีความพร้อมจะปรับเปลี่ยนองค์กร หากเดิมเคยใช้สำนักงานบัญชีช่วยจัดทำบัญชีให้ คงต้องเริ่มทบทวนดูว่าสำนักงานบัญชีสามารถตอบสนองความต้องการของเราที่เพิ่มมากขึ้นได้หรือไม่ เช่น จากเดิมปิดบัญชีให้เราปีละครั้ง (ซึ่งดูจะช้าเกินไปสำหรับการนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงบริหารงาน) หากปิดเป็นรายครึ่งปี รายไตรมาส (ทุก ๓ เดือน) หรือแม้กระทั่งเป็นรายเดือน ได้หรือไม่
ในมุมกลับใครที่ทำสำนักงานบัญชี อาจต้องขยับตัวก่อน โดยการนำเสนอบริการที่ดีขึ้น จากเดิมเราเคยปิดบัญชีให้ลูกค้าปีละครั้ง หากเราเสนอว่าถ้าเราปิดบัญชีให้กิจการทุกครึ่งปี ทุกสามเดือน หรือทุกเดือน เชื่อว่าไม่มีกิจการใดอยากปฏิเสธแน่
ปัญหาเพียงข้อเดียว คือ สำนักงานบัญชีต้องคำนวณดูว่ามีต้นทุนค่าบริการเพิ่มขึ้นหรือไม่ และจะเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มจากลูกค้าได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งสำนักงานบัญชีคงต้องทำการบ้านและการตลาดในเรื่องนี้ว่า จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากลูกค้า และหาจุดที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เงินที่ต้องจ่ายเพิ่มนั้นคุ้มค่าต่อประโยชน์ที่กิจการจะได้รับ สำนักงานบัญชีอาจต้องทำตัวอย่างรูปแบบรายงานทางการเงินที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพว่า รายงานทางการเงินดังกล่าวจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อกิจการได้จริง
ด้านกิจการเอง อาจมีทางเลือกว่า จะใช้บริการที่เราต้องการจากสำนักงานบัญชีที่เคยทำ หรือเปลี่ยนให้สำนักงานบัญชีที่มีความพร้อมมากกว่าทำให้ หรือแม้กระทั่งการพิจารณาว่าจะมีพนักงานบัญชีเป็นของตนเอง
ข้อควรพิจารณาว่าจะใช้ทางเลือกใดในทางปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
1. ทางเลือกการใช้สำนักงานบัญชี หรือ มีพนักงานประจำ มีทั้งข้อดีข้อเสียในตัวเอง เช่น การใช้สำนักงานบัญชีช่วยให้กิจการไม่มีภาระเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการพนักงาน และหากสำนักงานบัญชีให้บริการไม่ดีกิจการมีความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ง่ายกว่าการเลิกจ้าง การมีพนักงานประจำที่มีความสามารถมากพอและปิดบัญชีได้ กิจการต้องยอมจ่ายเงินเดือนที่สูงกว่าการจ้างพนักงานธุรการซึ่งดูแลเรื่องเอกสารได้แต่ไม่สามารถปิดบัญชีได้
2. การพิจารณาทางเลือกใช้สำนักงานบัญชี หรือ จ้างพนักงานประจำ ทางที่ดีท่านต้องออกแบบให้เกิดความสมดุลในการมอบหมายงาน หากพิจารณาและเข้าใจข้อจำกัดของสำนักงานบัญชี และพนักงานประจำ ก็จะหลีกเลี่ยงความคาดหวังที่ไม่มีวันเป็นจริงได้ เรียกว่า “การบริหารความคาดหวัง” โดยท่านต้องอาศัยหลัก “ใช้คนให้เหมาะกับงาน” ประกอบด้วย
3. กิจการบางแห่งเลือกจ้างพนักงานธุรการสำหรับจัดการระบบเอกสาร และงานของพนักงานธุรการอาจจะช่วยให้สำนักงานบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้นและไม่คิดค่าบริการสูงเกินไป ในขณะที่พนักงานธุรการยังสามารถช่วยงานด้านอื่นได้อีกด้วย ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
4. หน้าที่งานบางอย่างต้องการคนติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน จึงไม่ควรมอบหมายงานลักษณะนั้นแก่สำนักงานบัญชี เพราะท่านอาจจะต้องผิดหวัง เนื่องจาก โดยธรรมชาติแล้วสำนักงานบัญชีมีข้อจำกัดที่ไม่ได้เข้ามาทำงานทุกวัน ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ถึงเวลาก็จะติดตามดูแลตามที่ท่านคาดหวังไม่ได้ จะได้ไม่ต้องผิดใจกัน
5. เอกสารต่างๆนั้น ควรเก็บรักษาไว้ที่กิจการเป็นหลัก อาจมีการนำเอกสารออกไปบ้างเป็นครั้งคราว ก็ควรจะส่งคืนกลับมาเมื่อดำเนินการต่างๆแล้วเสร็จ และควรมีระบบการจัดเก็บเอกสารที่แน่นอน หลายครั้งมีปัญหาเอกสารหายจากการที่สำนักงานบัญชีนำเอกสารออกไป และแจ้งว่าได้นำส่งคืนกิจการแล้วและกิจการก็ไม่มีระบบตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ การส่งเอกสารเข้าออกมักทำให้เกิดความสับสนเสมอ
6. กิจการอาจต้องคอยตรวจสอบว่าภาษีที่สำนักงานบัญชีนำไปยื่นให้ทุกเดือนนั้น มีใบเสร็จรับเงินจากทางราชการกลับมาหรือไม่ และเช็คจ่ายค่าภาษีก็ไม่ควรสั่งจ่าย “เงินสด” แต่ควรสั่งจ่ายแบบ A/C Payee Only “กรมสรรพากร” เท่านั้น เคยพบกรณีที่สำนักงานบัญชีเบิกเงินค่าภาษีโดยให้สั่งจ่ายเป็นเช็คเงินสด ผ่านมาหลายปีจึงมีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมาแจ้งต่อกิจการว่าไม่เคยยื่นแบบเพื่อเสียภาษีมาตลอดเวลาหลายปีก็มี
7. มีหลายกิจการเข้าใจว่าสำนักงานบัญชีปิดบัญชีให้ทุกเดือน แต่มาทราบในภายหลังว่า ปิดให้ปีละครั้ง แต่ละเดือนที่ทำนั้น คือยื่นภาษีเท่านั้น ดังนั้น ควรทำความเข้าใจขอบเขตงานกันให้ชัดเจนตั้งแต่แรก และหากปิดบัญชีทุกเดือนก็ควรมีรายงานทางการเงินเสนอต่อกิจการ
8. หากกิจการเลือกมีพนักงานบัญชี พึงระลึกว่ามีข้อจำกัดหนึ่ง คือ กิจการขนาดเล็กไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ แต่อย่างน้อย กิจการควรจะแยกหน้าที่ “รับเงิน-จ่ายเงิน” ออกจากหน้าที่บันทึกบัญชี เนื่องจากว่า หากผู้มีหน้าที่ “รับเงิน-จ่ายเงิน” เป็นคนเดียวกันกับคนบันทึกบัญชีแล้ว ก็จะขาด Check and Balance ระหว่างผู้ทำรายการกับผู้บันทึกรายการ อาจเป็นช่องโหว่ให้เกิดพนักงานหัวใสที่สามารถกลบเกลื่อนรายการ “ยักยอก” หรือ “ทุจริต” ได้
9. พึงตระหนักว่า “งานบัญชี” แม้ไม่สร้างรายได้ให้เกิดกับกิจการ แต่เป็นส่วนที่กิจการสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อลด “ต้นทุน” หรือ “การสูญเสีย” ที่ไม่จำเป็นได้ การบัญชีหากใช้ให้เป็นจะช่วยเพิ่ม “ประสิทธิภาพ” การใช้ทรัพยากรขององค์กรซึ่งกิจการขนาดเล็กมีอยู่อย่างจำกัดได้ และข้อมูลทางบัญชีมี “ต้นทุน” เพื่อให้ได้มาเสมอ แต่จะทำอย่างไรให้ได้ “ประโยชน์” คุ้มค่ากับ “ต้นทุน” ที่ต้องเสียไป
10. กิจการควรระมัดระวังอย่าให้เกิดกรณี “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” คือการประหยัดนิดประหยัดหน่อย แต่กลับสร้างผลเสียหายที่ร้ายแรง เช่น จ้างพนักงานโดยมุ่งเลือกคนที่เงินเดือนต่ำที่สุด แต่ทำงานไม่ได้ หรือในกรณีจ้างสำนักงานบัญชี โดยไม่พิจารณาความรู้ความสามารถ และที่สำคัญที่สุดคือ “ความรับผิดชอบ” แต่เลือกโดยเน้นราคาประหยัด แต่หากได้สำนักงานที่ไม่มีความรับผิดชอบแล้วอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกิจการได้ เช่น ตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นกรณีไม่ได้นำส่งภาษีให้จริง กิจการต้องรับผิดชอบเสียภาษีย้อนหลัง บวกค่าปรับจำนวนมาก แถมยังเสียประวัติและเป็นที่เพ่งเล็งของกรมสรรพากร โดยไม่สามารถจะอ้างหรือปฏิเสธความรับผิดชอบออกไปได้
กิจการขนาดเล็ก มีทั้งศักยภาพที่จะทำอะไรได้อย่างคล่องตัว และข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ การสูญเสียเล็กๆน้อยๆสำหรับกิจการขนาดเล็กอาจส่งผลใหญ่โตได้เสมอ การบริหารกิจการขนาดเล็กจึงต้องอาศัยความใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อย และความเอาใจใส่ติดตามอย่างใกล้ชิด ความตื่นตัวปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และรู้จักเลือกสิ่งที่เหมาะกับกิจการย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้กิจการขนาดเล็กไปได้ไกล และอยู่ได้อย่างมั่นคง และพร้อมขยับขยายเป็นกิจการขนาดใหญ่ได้โดยไม่สะดุด
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
: วิโรจน์ เฉลิมรัตนา
ประกาศบทความโดย
:
http://www.prosmes.com
แผนกบัญชี
งานบัญชี
สำนักงานบัญชี
บัญชี
683
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
การควบคุมคลังสินค้า มีหลักการอย่างไร?
การควบคุมคลังสินค้า มีหลักการอย่างไร?
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คืออะไร เข้าใจเรื่องภาษีแบบง่ายๆ ในปี 2021
ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คืออะไร เข้าใจเรื่องภาษีแบบง่ายๆ ในปี 2021
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ
จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร
7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่
7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่
การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com