งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี

งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี



คำว่า “งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

       ซึ่งงวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีในแต่ละงวดหรือในแต่ละรอบนั้นหมายถึงการที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาที่กำหนดจากนั้นก็จะสรุปออกมาว่าในแต่ละงวดเวลานั้นกิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไรและเมื่อถึงวันสิ้นงวดนั้นกิจการมีฐานะการเงินอย่างไรเช่นในงวด 1 เดือนที่ผ่านมากิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนเท่าไรและในวันสิ้นงวด 1 เดือนกิจการมีสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของคงเหลืออยู่เท่าไรนั้นเองโดยในการกำหนดงวดบัญชีนี้จะเริ่มต้นวันที่เท่าไรก็ได้และวันสุดท้ายก็คือวันสิ้นสุดงวดบัญชีตามที่กำหนดระยะเวลาเป็น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี

       ปีการเงินหรือ ปีบัญชี (fiscal Year) ในการกำหนดงวดบัญชีเท่ากับ 1 ปีหรือ 12 เดือนเราก็เรียกงวดบัญชีนั้นว่าปีบัญชีหรือปีการเงินซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่เท่าไรก็ได้เช่น 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 เป็นต้นแต่โดยปกติทั่วไปเพื่อความสะดวกและสอดคล้องต่อการเสียภาษีให้แกรัฐบาลกิจการส่วนใหญ่ก็จะกำหนดปีการเงินหรือปีบัญชีเหมือนกับปีปฎิทินคือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของทุกปี

ท่านสามารถทำรายการกำหนดงวดปีภาษีบัญชีในโปรแกรมบัญชี WINSpeed ง่ายๆ ดังนี้


ขั้นตอนก่อนการเปิดงวดภาษีใหม่ >> ทำการสำรองข้อมูล (Backup) เพื่อสำรองไว้ก่อนที่จะมีการสร้างปีภาษีใหม่ 

1.สามารถเข้าที่ระบบ Enterprise  Manager  => General Setup => กำหนดงวดบัญชี


2.จากนั้น Click  เพื่อทำการกำหนดงวดบัญชีใหม่  



3.ให้ระบุปีภาษี => Click icon รูป  => โปรแกรมจะแจ้งเตือนว่า “ จะกำหนดงวดบัญชีให้อัติโนมัติ ”



4.Click OK => โปรแกรมจะทำการ Run งวดบัญชีมาให้อัติโนมัติ 12 งวด => ทำการบันทึก Click 

    

5.โปรแกรมจะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบว่า “ ได้ทำการบันทึกข้อมูลสำเร็จ ”  => Click OK



6.เมื่อทำการบันทึกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย => จะมีงวดบัญชีแสดงขึ้นมา



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 1035
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์