ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด

ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด



วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด
โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร


เมื่อวงจรธุรกิจหมุนซ้ำๆ แล้วมีเงินสดเพิ่มมากขึ้น เราจึงเรียกว่า “กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร” สิ่งที่สำคัญในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คือ การใช้เงินทุนปริมาณน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้กระแสเงินสดสำหรับการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

กำไร คือส่วนต่างของยอดขาย (ยอดขายค้างรับ) กับค่าใช้จ่าย (ต้นทุนสินค้า) โดยปกติแล้วจะคำนวณกำไรเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า แต่ทว่าการเก็บเงินจากยอดขายค้างรับจะทำหลังจากนั้น ทำให้การคำนวณกำไรกับการเพิ่มขึ้นของเงินสดมีจังหวะที่ต่างกัน

ในกรณีที่กำไรกับกระแสเงินสดสำหรับการบริหารมีความแตกต่างกันมาก เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ก็เอาเงินที่ได้จากการขายไปใช้เสียหมด และเมื่อผลิตสินค้าที่เหมือนกันอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฎว่าครั้งนี้ขายไม่ได้เลย แต่ต้องปิดบัญชี ถึงตอนนี้ในมือไม่มีเงินสดคงเหลืออยู่ แต่ทว่าทางการบัญชีกลับปรากฎว่ามีกำไรเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะขายสินค้าหมด แต่ไม่สามารถเก็บยอดขายค้างรับได้เลย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะเหมือนกัน ดังนั้น การที่มีกำไร (เป็นบวก) กับการที่มีเงินสดอยู่ในมือเป็นคนละเรื่อง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ตารางที่อธิบายการเพิ่มลด และยอดคงเหลือของเงินสดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า ตารางกระแสเงินสด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

1. กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร (Cash Flow /CF การบริหาร)

ในวงจรธุรกิจ เราเรียกเงินสดที่เพิ่มขึ้นว่า “CF การบริหาร” หมายถึง มูลค่าที่เกิดจากการนำค่าเสื่อมราคาบวกเข้ากับกำไร (ยอดขาย-ค่าใช้จ่าย) งวดนี้ จากนั้นนำส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนดำเนินการ (สินค้าคงคลัง+ยอดขายค้างรับ-ยอดซื้อค้างจ่าย) ไปหักออก การที่เอาค่าเสื่อมราคาบวกเข้าไปด้วย เหตุผลก็คือ ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ทำให้เกิดการจ่ายเงินสดออกไปนั่นเอง หมายความว่า ถ้าหากว่าเงินทุนดำเนินการมีเพิ่มขึ้นมากกว่า กำไร+ค่าเสื่อมราคา (เรียกว่า กำไรเงินสด) ก็จะทำให้ CF การบริหารติดลบ จึงอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “บัญชีถูกต้อง แต่เงินสดไม่พอ”

2. กระแสเงินสดสำหรับการลงทุน (Cash Flow /CF การลงทุน)

การรับหรือจ่ายเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินถาวร เรียกว่า “CF การลงทุน” ในทางรูปธรรมจะมีการซื้อหรือขายเครื่องจักรอุปกรณ์ อาคาร ที่ดิน หุ้นของบริษัทลูก การซื้อขายหุ้นที่มีอยู่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการลงทุน การให้กู้ หรือคืนเงินกู้ให้บริษัทลูก เป็นต้น บริษัทที่มีความแข็งแกร่งจะมีการดำเนินกิจกรรมการลงทุนอย่างจริงจัง ดังนั้นค่าตัวเลขนี้มักจะติดลบ หรือเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทพยายามจะไม่ลงทุน CF การบริหาร ก็จะลดน้อยลง บริษัทจะอยู่ต่อไปได้อย่างน้อยที่สุดจำเป็นต้องมีรายจ่ายเพื่อการลงทุนให้ เพียงพอที่จะรักษาสภาพปัจจุบันไว้ ตัวเลขที่ได้จากการนำ CF การลงทุน ไปลบออกจาก CF การบริหาร เรียกว่า “Free Cash Flow (FCF)” ในการบริหารกระแสเงินสดนั้น โดยหลักแล้ว FCF จะต้องมีสภาพเป็นบวก หมายความว่า “ผู้บริหารควรจะทำให้ CFC การบริหารมีมากที่สุด แล้วทำการลงทุนที่มีประสิทธิผลภายในกรอบนั้น ๆ”

3. กระแสเงินสดทางการเงิน (Cash Flow /CF ทางการเงิน)

การกู้เงินจากธนาคาร การออกพันธบัตรบริษัท การออกหุ้น (เพิ่มทุน) การจ่ายเงินปันผล การซื้อหุ้นบริษัทตัวเอง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการรับจ่ายเงินสดเพื่อการสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ จึงเรียกว่า “CF ทางการเงิน” ถ้ามองจากจุดยืนของการบริหารกระแสเงินสด การลงทุนควรจะอยู่ภายในกรอบของ CF การบริหาร แต่ทว่า การลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือการซื้อกิจการบริษัทลูก ยอดเงินเพียงเท่านั้นคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องจัดหาจากการกู้ยืมธนาคารหรือการเพิ่มทุน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย
 : หนังสือ “ร้านไหนกำไรมากกว่ากัน” โดย Atsumu Hayashi แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์
 749
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์