รายได้ (income) หมายถึง?

รายได้ (income) หมายถึง?



รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้

รายได้ขององค์กรไม่แสวงหากำไร

รายได้ตามความหมายขององค์กรไม่แสดงหาผลกำไร หมายถึง รายได้ที่มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่างๆ รวมถึงรายได้ที่องค์กรภาครัฐให้การสนับสนุน และรายรับจากกิจกรรมการระดมทุน ค่าบำรุงสมาชิก

รายได้ในทางธุรกิจ

รายได้ในทางธุรกิจ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการหรือองค์กรได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการที่เกิดจากดำเนินงานตามปกติรวมทั้งผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติและรายได้ที่ได้รับมักอยู่ในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด

ประเภทของรายได้

รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการขาย (Sale revenue) และรายได้อื่น (Other incomes)

  1. รายได้จากการขาย (Sale revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า หรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงาน เช่น รายได้จากการขายสินค้า และรายได้ที่ได้จากการให้บริการ เช่น รายได้จากการซ่อมเครื่องใช้ หรือรายได้จากการให้บริการล้างอัดฉีดรถยนต์และบริการด้านอื่นๆ
  2. รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ซึ่งไม่ใช่รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการ เช่น รายได้จากการขายวัสดุอุปกรณ์สำนักงานที่ไม่ได้ใช้แล้ว รายได้จากการขายเศษวัสดุเหลือใช้

นอกจากนั้นยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้พิเคราะห์รายได้ของคนเราในแบบต่างๆ พบว่า รายได้มี 2 แบบ คือ รายได้ที่มาจากการทำงาน และรายได้จากทรัพย์สิน

  1. รายได้จากการทำงาน (Active Income) หมายถึง รายได้ที่ต้องทำงานจึงจะได้มา เช่น เงินเดือน รายได้จากการค้าขาย รายได้ของนักแสดง ผู้ใช้แรงงาน รายได้จากการให้บริการ และอื่นๆ
  2. รายได้จากทรัพย์สิน (Recurring income) คือ รายได้ที่มาจากทรัพย์สิน ไม่ได้เกิดจากการทำงานโดยตรง เช่น รายได้จากการถือหุ้น การให้เช่าบ้าน อาคารที่พัก หรือเช่าสถานที่ ค่าสิทธิบัตร ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น

สรุป ความหมายของรายได้ก็คือผลตอบแทนหรือสิ่งที่ได้มาจากการขายสินค้าและบริการในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด และรายได้ที่เกิดจากการสนับสนุนขององค์กรภาครัฐ หรือได้มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่างๆ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : www.im2market.com

 22567
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์