ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ


      เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง

        หากคุณต้องการผู้ช่วยสักคนในองค์กร เพื่อปรับปรุงความมั่นคงทางการเงินคุณควรให้ความสนใจไปที่ที่ปรึกษาด้านบัญชีหรือไม่ก็ที่ปรึกษาด้านภาษี  เพราะการให้คำปรึกษาด้านภาษีช่วยให้ผู้คนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ การมีที่ปรึกษาด้านบัญชีจะช่วยให้ลูกค้าปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีและช่วยให้สามารถเก็บเงินไว้ได้มากขึ้น

ที่ปรึกษาด้านภาษี คือใคร?

        ที่ปรึกษาด้านภาษี คือผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเงินด้วยบ้าง ในบางครั้ง ที่ปรึกษาด้านภาษีจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการการยื่นภาษี คืนภาษีและเรื่องการเงินต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ที่ปรึกษาด้านภาษียังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านภาษี

        ทั้งผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล อาจจะกังวลว่าตนเองดำเนินธุรกิจแล้วเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือเสียภาษีครบถ้วน หรือถูกต้องหรือไม่ การมีที่ปรึกษาด้านภาษีจะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษีได้ดีมากขึ้น

        ที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ได้ช่วยธุรกิจจัดการภาษีอากรอย่างเดียว แต่ในบางสำนักบัญชีหรือบริษัทที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านภาษียังให้บริการครอบคลุมถึงงานด้านทำบัญชีด้วย ซึ่งจะง่ายต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรมีที่ปรึกษาด้านภาษีในธุรกิจด้วย

ที่ปรึกษาด้าน ทำงานและให้บริการด้านใดบ้าง?

  • ให้แนวทางในการวางแผนภาษีในแต่ละปี เพื่อประหยัดค่าภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อาทิเช่น การบริจาคหรือซื้อสินค้า เพื่อลดหย่อนภาษี เป็นต้น
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังได้รับคำปรึกษาด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT)*
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล จะได้รับคำแนะนำด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)**
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารทางด้านบัญชี ที่จะนำมาใช้ในการยื่นภาษีและเสียภาษี

        ข้อดีของการมีที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ใช่แค่เป็นที่ปรึกษาด้านภาษีเท่านั้น นอกจากงานด้านภาษีที่จะทำให้เอกสารและงานด้านภาษีถูกต้อง ชัดเจนแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงทางด้านภาษี เพราะจะแนะนำจุดผิดพลาดที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของเงินที่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


ที่มา : www.ar.co.th

 679
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์