การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล

การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล


ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย


- การจัดทำงบประมาณ 
- การจัดทำแผนการเงิน
- การขออนุมัติ

เมื่อได้งบประมาณที่ผ่านการอนุมัติมาแล้ว ก็จะต้องส่งข้อมูลงบประมาณ ให้ผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินทำการ set up งบประมาณ เข้าโปรแกรมบัญชี เพื่อเป็นตัวตั้ง และควบคุมการใช้จ่าย ในระหว่างปี เพื่อไม่ให้เกินวงเงินงบประมาณ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งระบบของการจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน จะขอแบ่งงานบัญชีการเงินเป็น 2 ส่วน คือ

     1.งานงบประมาณ

     2.งานบัญชีการเงิน

จากภาระหน้าที่ดังกล่าว จะเห็นว่างานบัญชีการเงิน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการได้ข้อมูลเพื่อการบริหารงบประมาณ ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินจะต้องจัดวางระบบบัญชีการเงิน และหาเครื่องมือ คือโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการบริหารงบประมาณที่ง่าย และสะดวกต่อการทำงาน

การจัดทำงบประมาณ

 1. การจัดทำงบประมาณ
  • งบประมาณรายได้
  • งบประมาณค่าใช้จ่าย
  • งบประมาณโครงการ
  • งบประมาณการลงทุน
2. การจัดทำแผนการเงิน และขออนุมัติงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณของนิติบุคคลฯ ซึ่งประกอบด้วย
  • งบประมาณรายได้ เป็นการประมาณการรายได้ต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้า เช่น เงินค่าส่วนกลางที่รับจากสมาชิกนิติบุคคลฯ เงินรับจากกิจกรรมต่างๆ รายได้จากการขายสติ๊กเกอร์รถยนต์ และรายได้อื่นๆ เป็นต้น
  • งบประมาณค่าใช้จ่าย เป็นการประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจะจ่ายในปีหน้า เช่นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายโครงการต่างๆ เป็นต้น
  • งบประมาณโครงการ เป็นการจัดทำงบประมาณในรูปโครงการต่างๆ เช่น โครงการจัดกิจกรรมต่างๆของนิติบุคคลฯ จะเห็นว่าบางโครงการอาจมีรายได้ การที่ทำในรูปโครงการมีข้อดีที่ทำให้เราทราบรายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการรวมทั้งหากมีการประเมินผลก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ในปีต่อๆไป ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่    
  • งบประมาณการลงทุน เป็นงบประมาณที่ทางนิติบุคคลฯ วางแผนที่จะลงทุนในปีหน้า เช่นการสร้างอาคาร และการซื้อครุภัณฑ์ เป็นต้น
  • งบประมาณการเงิน หรือการจัดทำแผนการเงิน เมื่อทางนิติบุคคลฯ ได้จัดทำงบประมาณรายได้ งบประมาณค่าใช้จ่าย งบประมาณโครงการ งบประมาณการลงทุน แล้วก็จะมาทำแผนการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า งบประมาณการเงิน เสร็จแล้วก็จะส่งข้อมูลให้ผู้รับผิชอบด้านบัญชีเพื่อบันทึกตั้งงบประมาณ ในระบบบัญชี
 1324
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale  การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online  ที่ขายสินค้าบน  MarketPlaces  ต่างๆ ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์