เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร

เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร


1. ขอเอกสารที่ใช้ในการบันทึกบัญชีคืน

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา

กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
– บิลซื้อ บิลขาย
– ใบเสร็จและเอกสารนำส่งภาษี (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30, ภ.ง.ด. 50,51)
– เอกสารที่ใช้นำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

ผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีส่วนใหญ่จะทำใบสำคัญการลงบัญชีพร้อมแนบเอกสารส่งคืนลูกค้าทุกปี

2. ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี
  • งบทดลอง (Trial Balance)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (General Ledger)
  • สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนเจ้าหนี้ ทะเบียนลูกหนี้
  • รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือสินทรัพย์และหนี้สิน

ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีจะต้องให้เวลากับผู้ทำบัญชีเก่าในการปิดบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้ผู้ทำบัญชีรายใหม่ การปิดบัญชีส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน แต่ผู้ทำบัญชีรายใหม่สามารถทำบัญชีได้เลย ไม่ต้องรอผู้ทำบัญชีรายเก่าปิดงบเสร็จ

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ ที่เกี่ยวกับบัญชี
  • รหัสผ่าน DBD E-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านที่ใช้ทำธุรกรรมบนเว็บประกันสังคม

วันเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่เหมาะกับการเปลี่ยนผู้ทำบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีใหม่

ขั้นตอนการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีใหม่

  1. ผู้ทำบัญชีต้องทำเรื่องแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-Accountant ที่เว็บ DBD

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com   หรือ Click  

 1636
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
สินทรัพย์ในทางบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่มีและอยู่ในการควบคุมของกิจการ สินทรัพย์นี้อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งสามารถตีราคามูลค่าเป็นเงินได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผล ของ เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคตเราสามารถ
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์