เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร

เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร


อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่า #เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
 
ที่เป็นเช่นนี้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ   

1. ไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีประเภทไหน เพราะเปิดเป็นร้านขายของธรรมดาปกติ จึงไม่ทราบว่ารายได้ที่มีเข้าเกณพ์เสียภาษีหรือไม่
2. ไม่ได้ติดตามข่าวสารภาษี ทุกทีที่เสียภาษีก็ประเมินคร่าว ๆ
 
หากปล่อยให้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องการรับรู้รายได้ของกรมสรรพากร เช่นนี้ต่อไป จะทำให้กิจการหรือร้านค้าของคุณไม่ได้ยื่นภาษีตามที่สรรพากกำหนด เพราะคิดว่ากิจการขายของธรรมดา รายได้ไม่น่าถึงยอดที่สรรพกรกำหนด สุดท้ายละเลยหน้าที่ผู้เสียภาษีที่ดี รู้ตัวอีกที ก็มีหนังสือเชิญเข้าพบ จุดจบคือถูกประเมินภาษีโดยเจ้าหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามมาที่มีอาจเป็นค่าปรับ พร้อมกับเงินเพิ่ม คุณคงต้องรู้สึกไม่สบายใจ ที่ต้องไปพบกับเจ้าหน้าที่ เพราะคำตอบที่มีอาจไม่ชัดเจน ใช่มั้ยคะ
 
เราคนไทยทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าผู้ใดมีเงินได้ผู้นั้นเป็นผู้หน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่เชื่อว่าหลายท่านยังไม่รู้เลยว่า เราจะต้องเสียภาษีจากยอดอะไร และเจ้าหน้าที่สรรพากรนั้นจะรับรู้รายได้ของเราได้อย่างไร
 
ต่อไปนี้คือ 5 ช่องทางที่เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามี ตามไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

1. มีหน้าร้าน แน่นอนอยู่แล้วเมื่อเรามีหน้าร้าน ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรก็สามารถเข้ามา เพื่อนับจำนวนการขายต่อวัน และประมาณการรายได้ของเราที่หน้าร้านได้เลยค่ะ อย่างเช่นร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าส่ง หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต
2. ประเมินรายได้จากการที่กิจการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราให้บริการกับลูกค้า แล้วถูกลูกค้าที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แล้วนำส่งให้สรรพากร ทางสรรพากรก็จะรับรู้รายได้ก้อนนั้นทันทีที่ถูกนำส่งค่ะ กรณีนี้จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้บริการกับลูกค้าที่เป็นบริษัทแล้วถูกหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง แต่ผู้ประกอบการรายนี้ไม่มีความรู้เรื่องภาษี จึงไม่เคยยื่นแบบเสียภาษี สุดท้ายถูกประเมินภาษีย้อนหลัง และเข้าข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยค่ะ

3. ธุรกิจออนไลน์ ที่มีการ Live สด กรณีนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถเข้าดู Live สด และนับยอดการ Live ได้ค่ะ

4. กฏหมาย #ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 หรือกฏหมายเงินเข้าบัญชีธนาคาร
ซึ่งมี 2 เงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
  4.1 เงื่อนไขที่ 1 เงินเข้าทุกบัญชี 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
  4.2 เงื่อนไขที่ 2 เงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป (ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาท)
 5. ขายของ Shoopee, Lazada กรณีนี้จะมีแจ้งยอดที่ขายได้อยู่ในระบบ พร้อมราคาสินค้าแต่ละชนิด ทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากร สามารถประมาณรายได้ของร้านค้าหรือกิจการได้ค่ะ
 
และเมื่อคุณทราบแล้วว่า เจ้าหน้าที่สรรพากรรับรู้รายได้ของเราจากช่องทางไหน คุณเองก็จะประมาณรายได้ของตัวเองที่ต้องเสียภาษีได้ เพื่อจะได้วางแผนการเงิน และในเรื่องการยื่นชำระภาษีต่อไปค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 690
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
สูตรการบัญชี ที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึง รวมสูดรบัญชี ดังนี้
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์